หนังสือพิมพ์
ดีโพลมานิวส์
ฉบับข่าว
สายกลาง
ฉบับวันที่
ก.พ.2561 |
ผู้อำนวยการ
เกรียงไกร
(พรเทพ)
ไตรสัมฤทธิ์ผล
บรรณาธิการ
ผู้พิมพ์ |
มีทนายช่วย
เหลือคนจน
เป็นองค์กรที่ไม่แสวง
หาผลกำไร
0992612588
|
ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด (๑)
นายอุดมศักดิ์ ชูโตชนะ
นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
สถาบันพระสังฆาธิการ
นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
สถาบันพระสังฆาธิการ
ชาวพุทธโดยทั่วไปมักได้ยินและคุ้นเคยคำว่า ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด โดยส่วนใหญ่เข้าใจความหมายที่ไม่ตรงกับกฏหมาย และผลที่จะเกิดในทางกฎหมาย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๑ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่างคือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง สำหรับสำนักสงฆ์นั้นไม่ปรากฎว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้บัญญัติความหมายไว้ว่าหมายถึงอะไร แต่ย้อนกลับไปดูพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรก ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕ กำหนดว่า วัดมี ๓ อย่าง คือ พระอารามหลวง อารามราษฎร์ และ ที่สำนักสงฆ์ และกำหนดให้ความหมายของคำว่า “ที่สำนักสงฆ์” คือวัดซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ขึ้นใช้บังคับแทน มาตรา ๓๘ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันขึ้นใช้บังคับแทน โดยมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ตราขึ้นในภายหลังมิได้มีบทบัญญัติให้เห็นว่ามีความประสงค์จะให้ลักษณะของสำนักสงฆ์มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ จึงต้องถือว่าสำนักสงฆ์ หมายถึง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
จากที่อ้างถึงพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงพอสรุปได้ว่า ที่พักสงฆ์ หมายถึงสถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่พักสงฆ์ จึงไม่มีสิทธิใช้คำว่า สำนักสงฆ์ หรือ วัด นำหน้าชื่อสถานที่ แต่หากดำเนินการขอสร้างวัด และตั้งวัดตามระเบียบของทางราชการ เมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัด และตั้งวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะถือว่าเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ขึ้นใช้บังคับแทน มาตรา ๓๘ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันขึ้นใช้บังคับแทน โดยมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ตราขึ้นในภายหลังมิได้มีบทบัญญัติให้เห็นว่ามีความประสงค์จะให้ลักษณะของสำนักสงฆ์มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ จึงต้องถือว่าสำนักสงฆ์ หมายถึง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
จากที่อ้างถึงพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงพอสรุปได้ว่า ที่พักสงฆ์ หมายถึงสถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่พักสงฆ์ จึงไม่มีสิทธิใช้คำว่า สำนักสงฆ์ หรือ วัด นำหน้าชื่อสถานที่ แต่หากดำเนินการขอสร้างวัด และตั้งวัดตามระเบียบของทางราชการ เมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัด และตั้งวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะถือว่าเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด(๒)
ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด(๒)
นายอุดมศักดิ์ ชูโตชนะนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
สถาบันพระสังฆาธิการ
ตอนที่ผ่านมาได้อธิบายความหมายของคำว่าที่พักสงฆ์ คือสถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณรซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วการจะเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายมีขั้นตอนอย่างไรนั้น ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น วัดมี ๒ อย่างคือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ส่วนการสร้างวัดและตั้งวัดนั้นให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยที่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ และ มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ บัญญัติว่า
ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะสร้างวัด ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดนั้น พร้อมด้วยรายการและเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่จะยกให้สร้างวัดและที่ดินนั้นต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๖ ไร่
(๒) หนังสือสัญญา ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายทำกับนายอำเภอ และเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอ แสดงความจำนงจะให้ที่ดินดังกล่าวใน (๑) เพื่อสร้างวัด
(๓) จำนวนเงินและสัมภาระที่จะใช้ในการสร้างวัดในระยะเริ่มแรก ต้องมีราคารวมกันไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นบาท
(๔) แผนที่แสดงเขตที่ตั้งวัด ประกอบด้วยเขตติดต่อข้างเคียง และระยะทางระหว่างวัดที่จะสร้างขึ้นกับวัดอื่นโดยรอบ และให้แสดงแผนผังสิ่งก่อสร้างของวัดตามความเหมาะสมของสภาพที่ดินโดยอาศัยแผนผังตามแบบ ก. แบบ ข. หรือแบบ ค. ท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นหลักเท่าที่จะทำได้
(๕) กำหนดเวลาที่จะสร้างวัดให้แล้วเสร็จตามแผนผังนั้น
ข้อ ๒ วัดที่จะสร้างขึ้นต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) สมควรเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์
(๒) เป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในรัศมี ๒ กิโลเมตร โดยเฉลี่ยวัดละไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ คน เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็น
(๓) มีเหตุผลเชื่อได้ว่า เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะได้รับการบำรุงส่งเสริมจากประชาชน
(๔) ตั้งอยู่ห่างจากวัดอื่นไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็น
เมื่อได้มีการพิจารณาการปรึกษาและการรายงานการขอสร้างวัดโดยหน่วยราชการต่างๆตามลำดับจนถึงมหาเถรสมาคมแล้วให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติออกหนังสือให้สร้างวัดได้ โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และ มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๓๐/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
สำหรับการขอตั้งวัดตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ข้อ ๔ เมื่อได้สร้างเสนาสนะขึ้นเป็นหลักฐาน พร้อมที่จะเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ได้แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด ทายาท หรือผู้แทน เสนอรายงานการก่อสร้างวัดและจำนวนพระภิกษุที่จะอยู่ประจำไม่น้อยกว่า ๔ รูป พร้อมทั้งเสนอนามวัดพระภิกษุซึ่งสมควรเป็นเจ้าอาวาสเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและเมื่อมีการพิจารณา การปรึกษาและการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆตามลำดับ จนถึงมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะได้ประกาศตั้งวัดในราชกิจจานุเบกษาตามแบบ ว.๑ ท้ายกฎกระทรวง จากบทบัญญัติของกฎหมายและกฎกระทรวงดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า วัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งหมายความรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณา การปรึกษาและการรายงานการขอตั้งวัด โดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับ จนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะจัดทำประกาศตั้งวัดเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายลงนามประกาศแล้วจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำขึ้นทะเบียนวัดต่อไป
ดังนั้นวัดประเภทสำนักสงฆ์ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนในกิจการทั่วไปนั้นจะต้องมีการดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจนกระทั่งมีการประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากอยู่ระหว่างการดำเนินการขอตั้งวัดก็จะเรียกว่า ที่พักสงฆ์ ซึ่งวัดประเภทสำนักสงฆ์และวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมานั้น เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้วย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น และมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ บัญญัติไว้ เช่นมีอำนาจในการทำ นิติกรรมกับบุคคลภายนอกโดยผ่านทางเจ้าอาวาส สิทธิในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ป้องกันรักษาทรัพย์สิน และติดตามทรัพย์สินกลับคืน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองมิให้ใครมาละเมิด เป็นต้น ซึ่งจะได้นำเสนอรายละเอียดในตอนต่อๆไป
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
โปรดคลิกที่ภาษาอังกฤษหรือรูปสามเหลี่ยมตรงกลางเพื่อดูคลิปที่เคลื่อนไหวได้(ถ้ามี)บางข่าวอาจจะไม่มีคลิปภาพเคลื่อนไหว
นี่คือตัวอย่างข่าวบางส่วนบางหน้าเท่านั้นที่เราได้นำไปลงตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ของเรามาแล้วครั้งหนึ่งตามวันที่ซึ่งระบุไว้คำว่า(ประจำวันที่.....)
สื่อสิ่งพิมพ์น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ข่าวสายกลางจะเคียงคู่ไปด้วยกันกับสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือเสมอ
Diplomanews
Online/Saiglang Press Newspaper
Grianggrai Trai (chern){ Director }
姓...陳( Chern)名...威武)名前マイティ( 姓陳chern
(เครดิต)ขอให้เครดิตชื่อด้านล่างนี้เท่านั้น(credit)
………………………..
(เครดิต)ขอให้เครดิตชื่อด้านบนนี้เท่านั้น)(credit)
(เครดิต)(ดีโพลมานิวส์ข่าวสายกลางนำเสนอเฉพาะคลิปที่มีชื่อซึ่งเราให้เครดิตเท่านั้น)
คลิปอื่นไม่เกี่ยวกับเราๆไม่ขอนำเสนอ
*****************
|
ทีมงานน.ส.พ.)ดีโพลมานิวส์ข่าวสายกลาง)มีผู้บริหารดังนี้)
บ.ก.เกรียงไกร(พรเทพ)ไตรฯ(พี่เทพ) (บรรณาธิการและ)
หัวหน้ากองบรรณาธิการ)/อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และ)
ห.น.ศูนย์วิทยุน.ส.พ.ดาวสยาม)/อดีตคอลัมนิสต์)น.ส.พ.เดลิมิเร่อร์)
ปัจจุบันผู้อำนวยการ)น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ข่าวสายกลาง)
ปัจจุบันเป็นผู้ทำข่าวคลิปแรกส่งยูทูบในฐานะPartner-youtube)
ยินดีลงข่าวให้กับทุกท่านในยูทูบ)เพราะเราคือผู้ทำข่าวส่งให้ยูทูบ)ในฐานะPartner-youtube)
และเป็นหัวหน้าสำนักงานขมรม)สื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ)
(มี้...เสริมศิริ )บรรณาธิการบริหาร)/วิลาสินี เจริญสุข(ที่ปรึกษา)-ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
EIAM SAETANG(นามจีนผ.อ.)(ฝ่ายเท็คนิคและทำข่าวส่งยูทูบ)
รองฯ กรรณชัย)รองบรรณาธิการ(นามปากกา”ผู้กองแอ๊ด”)
ปฐมภพ หิรัญสัจจาเลิศ(ประธานที่ปรึกษาผ.อ.)(นามปากกา “คนสายกลาง”)
วิทยา ลิขิตบรรณศักดิ์/ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
สมชัย นามปากกา ราชพฤกษ์/ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการ
จตุพล(นามปากกาอัพเดท)/สุพรรณษา แซ่อั๊ง)นามปากกา"ผักบุ้ง)
ทีมงานจังหวัดขอนแก่น(ดอกคูณเมืองขอนแก่น)/สุนันทา ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
บุญรุ่ง(ที่ปรึกษาผ.อ.)/นามปากกา(คนเดลิมิเร่อร์)
วิลาสินี เจริญสุข(ที่ปรึกษา)-/ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ชมรมสื่อมวลชน)และเพื่อนทนายความ)....ที่ปรึกษากฎหมาย)เรามีทนายความ)ช่วยเหลือคนจน)
เสริมสุข ขวัญปัญญา)(ฝ่ายข่าวกฎหมาย)/นงลักษณ์ สุขจิรัง)(ฝ่ายข่าวกฎหมาย)
ชาติชายฯ(ที่ปรึกษากฎหมาย)
099-2612588(มีไลน์)รวมสื่อต่างๆแล้วเรามี)ผู้อ่านข่าวร่วมหลายแสนคน)
dpm2554@gmail.com)(เรามีพันธมิตรสื่อจำนวนมาก)
Apinunsanggaew(ที่ปรึกษาผ.อ.)นามปากกา“คนพิเศษ”)
โฆษณาเราไม่ได้นำมาลงเอง/
ทุกๆตำแหน่งและทุกๆกิจกรรมของเราไม่หวังผลกำไรใดๆทั้งสิ้นฟรีทุกอย่าง
(ข่าวของเราจะต้องมีคำว่า(ดีโพลมา)เท่านั้น)
คลิปอื่นที่ไม่มีชื่อ(ดีโพลมา)เราไม่เกี่ยวและไม่ขอนำเสนอ
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น