ลูกหนี้ขอสินเชื่อยากขึ้น หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ (รายการดีที่จะแนะนำให้ชม)
สถาบันการเงินเตรียมแก้ไขสัญญาเงินกู้และเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อใหม่ เพื่อให้เป็นไปตาม ป.พ.พ.(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ว่าด้วยการค้ำประกันและจดจำนอง โดยจะมีผลกับทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ หลังได้เสนอแก้ไขในประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อ แต่ไม่มีความคืบหน้าและคาดแก้ไขกฎหมายไม่ทันแน่นอน ซึ่งสถาบันการเงินจะกำหนดสัญญาเงินกู้และเงื่อนไขใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ลูกค้าขอสินเชื่อใหม่
1. เปลี่ยนผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วม
2. ให้น้ำหนักธุรกิจและความเคลื่อนไหวทางบัญชีลูกค้าเอสเอ็มอีมากกว่าผู้ค้ำประกัน
3. เรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้เพิ่ม หากไม่มีจะลดวงเงินให้กู้ลง
4. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามความเสี่ยงของธุรกิจ
5. ใช้เวลาในการพิจารณาสินเชื่อนานขึ้น
ลูกค้าเก่า
1. ส่งข้อมูลลูกหนี้ สถานการณ์ชำระหนี้ให้ผู้ค้ำประกันทุกไตรมาส
2. ปรับปรุงข้อมูล ชื่อ และที่อยู่ ของผู้ค้ำประกันทุกปี
3. เรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้เพิ่ม หากไม่มีธนาคารอาจพิจารณาไม่เพิ่มวงเงินกู้
ทนายคลายทุกข์ ได้รับการสอบถามจากลูกหนี้และเจ้าหนี้สถาบันการเงินเจ้าหนี้นอกระบบหลายราย เกี่ยวกับเรื่องการปล่อยสินเชื่อ การทวงหนี้ และการค้ำประกัน มีหลายคำถามที่น่าสนใจ จึงขอนำมาเสนอท่านผู้อ่านดังนี้
ควรจะไปค้ำประกันก่อนหรือหลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ทนายคลายทุกข์ ขอเรียนว่า ผู้ค้ำ
ประกันจะได้ประโยชน์หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ดังนั้น จึงแนะนำว่า ถ้าท่านจะค้ำประกันลูกหนี้เพื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ควรค้ำประกันหลังจากกฎหมายใหม่ใช้บังคับ เพราะผู้ค้ำประกัน จะได้มีสิทธิเกี่ยงให้ไปทวงหนี้กับลูกหนี้ชั้นต้นก่อนได้
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 681/1 ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 686 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หรือผู้ค้ำประกันมีสิทธิชำระหนี้ได้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้ำประกันอาจชำระหนี้ทั้งหมดหรือใช้สิทธิชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีอยู่กับเจ้าหนี้ก่อนการผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ตนต้องรับผิดก็ได้ และให้นำความในมาตรา 701 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในระหว่างที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามวรรคสาม เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดในระหว่างนั้นมิได้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันตามมาตรานี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้ค้ำประกันตามมาตรา 693
กระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่เปลี่ยนไป จะมีผลต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงินหรือลูกหนี้
อย่างไร ในส่วนของเจ้าหนี้ก็ต้องใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบในการบริหารความเสี่ยงในกรณีมีผู้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ เช่น นำผู้ค้ำประกันมาเป็นผู้กู้ร่วม ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็น่าคิดอยู่นะครับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 650 ประกอบมาตรา 653 การกู้ยืมเงินย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม(เงินที่ขอกู้) ดังนั้น หากซิกแซก โดยนำผู้ค้ำประกันมาเป็นผู้กู้ร่วม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเจตนาต้องการค้ำประกัน ไม่ได้ต้องการกู้ยืมเงิน จึงเกิดประเด็นทางกฎหมายขึ้นมาวา ใช่เจตนาอันแท้จริงของผู้ค้ำประกันหรือไม่ หรือเป็นเพียงกลอุบายเพื่อหลบเลี่ยงกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ประเด็นนี้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องระวังเป็นอย่างมาก ผู้ค้ำประกันที่ถูกบังคับให้เป็นผู้กู้ร่วม อาจจะยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลได้ และอาจทำให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้แพ้คดีก็ได้นะครับ และยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ประเด็นเกี่ยวกับการส่งมอบเงินตามสัญญากู้ต้องส่งมอบเงินให้กับลูกหนี้ด้วยนะครับตามกฎหมาย ดังนั้นผู้ค้ำประกันที่ถูกบังคับให้เป็นผู้กู้ร่วม ถ้านำสืบได้ว่า ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ สัญญากู้ก็ไม่บริบูรณ์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ไม่ได้ ผมเชื่อเหลือเกินว่าต้องมีการต่อสู้ประเด็นนี้อย่างแน่นอน สถาบันการเงินเจ้าหนี้ก็จะต้องเตรียมรับมือเอาไว้ เพราะกฎหมายฉบับใหม่เขียนไว้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้จะบังคับให้ผู้ค้ำประกันไปเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ได้ ถ้าไปทำเช่นนั้นก็เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681/1
การที่ลูกหนี้จะมาขอกู้ร่วมในทางปฏิบัติ ธนาคารก็มักจะถามถึงความสัมพันธ์ของผู้กู้ร่วม เช่น เป็นสามีภริยา หรือเป็นหุ้นส่วน หรือมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย ก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ หรือถ้าอนุมัติไปแล้ว ผู้กู้ร่วมบางคนหัวหมอ ก็อาจใช้เป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลว่า ถูกธนาคารเจ้าหนี้บังคับให้เป็นผู้กู้ร่วม ทั้งที่ธนาคารก็รู้อยู่แล้วว่า ตนเองไม่ได้ต้องการที่จะกู้ร่วม แต่ต้องการหลบเลี่ยงกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดหนักเหมือนกันสำหรับสถาบันการเงินการเงินเจ้าหนี้
สุดท้ายนี้หวังว่า สถาบันการเงินเจ้าหนี้กับลูกหนี้จะหาทางปรองดองกันเพื่อลูกหนี้จะไม่มีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันธนาคารในฐานะเจ้าหนี้โดยสุจริต ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าจะให้ดีควรแก้กฎหมายค้ำประกันใหม่ อย่าให้มันสุดโต่งเกินไป เหมือนกับการทารุณกรรมสัตว์ สังคมเริ่มตั้งคำถามว่า คนเสียเปรียบหมาหรือเปล่า
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
ลูกค้าขอสินเชื่อใหม่
1. เปลี่ยนผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วม
2. ให้น้ำหนักธุรกิจและความเคลื่อนไหวทางบัญชีลูกค้าเอสเอ็มอีมากกว่าผู้ค้ำประกัน
3. เรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้เพิ่ม หากไม่มีจะลดวงเงินให้กู้ลง
4. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามความเสี่ยงของธุรกิจ
5. ใช้เวลาในการพิจารณาสินเชื่อนานขึ้น
ลูกค้าเก่า
1. ส่งข้อมูลลูกหนี้ สถานการณ์ชำระหนี้ให้ผู้ค้ำประกันทุกไตรมาส
2. ปรับปรุงข้อมูล ชื่อ และที่อยู่ ของผู้ค้ำประกันทุกปี
3. เรียกหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้เพิ่ม หากไม่มีธนาคารอาจพิจารณาไม่เพิ่มวงเงินกู้
ทนายคลายทุกข์ ได้รับการสอบถามจากลูกหนี้และเจ้าหนี้สถาบันการเงินเจ้าหนี้นอกระบบหลายราย เกี่ยวกับเรื่องการปล่อยสินเชื่อ การทวงหนี้ และการค้ำประกัน มีหลายคำถามที่น่าสนใจ จึงขอนำมาเสนอท่านผู้อ่านดังนี้
ควรจะไปค้ำประกันก่อนหรือหลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ทนายคลายทุกข์ ขอเรียนว่า ผู้ค้ำ
ประกันจะได้ประโยชน์หลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ดังนั้น จึงแนะนำว่า ถ้าท่านจะค้ำประกันลูกหนี้เพื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ควรค้ำประกันหลังจากกฎหมายใหม่ใช้บังคับ เพราะผู้ค้ำประกัน จะได้มีสิทธิเกี่ยงให้ไปทวงหนี้กับลูกหนี้ชั้นต้นก่อนได้
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 681/1 ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 686 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หรือผู้ค้ำประกันมีสิทธิชำระหนี้ได้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้ำประกันอาจชำระหนี้ทั้งหมดหรือใช้สิทธิชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีอยู่กับเจ้าหนี้ก่อนการผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ตนต้องรับผิดก็ได้ และให้นำความในมาตรา 701 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในระหว่างที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามวรรคสาม เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดในระหว่างนั้นมิได้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันตามมาตรานี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้ค้ำประกันตามมาตรา 693
กระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่เปลี่ยนไป จะมีผลต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงินหรือลูกหนี้
อย่างไร ในส่วนของเจ้าหนี้ก็ต้องใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบในการบริหารความเสี่ยงในกรณีมีผู้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ เช่น นำผู้ค้ำประกันมาเป็นผู้กู้ร่วม ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็น่าคิดอยู่นะครับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 650 ประกอบมาตรา 653 การกู้ยืมเงินย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม(เงินที่ขอกู้) ดังนั้น หากซิกแซก โดยนำผู้ค้ำประกันมาเป็นผู้กู้ร่วม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเจตนาต้องการค้ำประกัน ไม่ได้ต้องการกู้ยืมเงิน จึงเกิดประเด็นทางกฎหมายขึ้นมาวา ใช่เจตนาอันแท้จริงของผู้ค้ำประกันหรือไม่ หรือเป็นเพียงกลอุบายเพื่อหลบเลี่ยงกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ประเด็นนี้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องระวังเป็นอย่างมาก ผู้ค้ำประกันที่ถูกบังคับให้เป็นผู้กู้ร่วม อาจจะยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลได้ และอาจทำให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้แพ้คดีก็ได้นะครับ และยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ประเด็นเกี่ยวกับการส่งมอบเงินตามสัญญากู้ต้องส่งมอบเงินให้กับลูกหนี้ด้วยนะครับตามกฎหมาย ดังนั้นผู้ค้ำประกันที่ถูกบังคับให้เป็นผู้กู้ร่วม ถ้านำสืบได้ว่า ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ สัญญากู้ก็ไม่บริบูรณ์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ไม่ได้ ผมเชื่อเหลือเกินว่าต้องมีการต่อสู้ประเด็นนี้อย่างแน่นอน สถาบันการเงินเจ้าหนี้ก็จะต้องเตรียมรับมือเอาไว้ เพราะกฎหมายฉบับใหม่เขียนไว้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้จะบังคับให้ผู้ค้ำประกันไปเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ได้ ถ้าไปทำเช่นนั้นก็เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681/1
การที่ลูกหนี้จะมาขอกู้ร่วมในทางปฏิบัติ ธนาคารก็มักจะถามถึงความสัมพันธ์ของผู้กู้ร่วม เช่น เป็นสามีภริยา หรือเป็นหุ้นส่วน หรือมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย ก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ หรือถ้าอนุมัติไปแล้ว ผู้กู้ร่วมบางคนหัวหมอ ก็อาจใช้เป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลว่า ถูกธนาคารเจ้าหนี้บังคับให้เป็นผู้กู้ร่วม ทั้งที่ธนาคารก็รู้อยู่แล้วว่า ตนเองไม่ได้ต้องการที่จะกู้ร่วม แต่ต้องการหลบเลี่ยงกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดหนักเหมือนกันสำหรับสถาบันการเงินการเงินเจ้าหนี้
สุดท้ายนี้หวังว่า สถาบันการเงินเจ้าหนี้กับลูกหนี้จะหาทางปรองดองกันเพื่อลูกหนี้จะไม่มีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันธนาคารในฐานะเจ้าหนี้โดยสุจริต ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าจะให้ดีควรแก้กฎหมายค้ำประกันใหม่ อย่าให้มันสุดโต่งเกินไป เหมือนกับการทารุณกรรมสัตว์ สังคมเริ่มตั้งคำถามว่า คนเสียเปรียบหมาหรือเปล่า
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
ขอแนะนำคอลัมน์/รายการ/คลิป/ที่น่าสนใจ/น่าอ่าน/น่าชม/ซึ่งมีชื่ออยู่ด้านบนนี้
ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างและด้านบนนี้ทุกๆท่าน
https://mail.google.com/mail/u/0/#inbox/14c1dfff9abb3458
www.decha.com
ถ่ายทอดโดย.....
ทีมงานน.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา 15358 /ร่วมกับสื่อสยามข่าวมวลชน/ถ่ายทอด)
ดังมีรายนามดังนี้.... บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ (พี่เทพ) (บรรณาธิการ
และหัวหน้ากองบรรณาธิการ)
นามปากกา “เดอะกะตะ”(บ.ก.สื่อสยามข่าวมวลชน)
จตุพล (บ.ก.บริหาร 3 สื่อ) บุญรุ่ง พวงทอง(คนเดลิมิเร่อร์) ผู้ช่วย บ.ก.
บรรทิศ คนเมืองคอน(ผู้ช่วย บ.ก.(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์)
สุจิตรา(นามปากกา “หญิงเหล็ก”) ปฐมภพ(นามปากกา "คนสายกลาง")
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.099-2612588 หรือ 086 – 7928056)
ตรวจสอบรายชื่อทีมงาน “ดีโพลมานิวส์” ว่าเป็นตัวจริงหรือไม่?ได้ ที่
โทร.099-2612588 หรือ 086 – 7928056 (บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ)
ข่าวที่เห็นอยู่นี้เป็นตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้นข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้ง
ดังมีรายนามต่อไปนี้ น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ฉบับที่1,2,3,4,5 และ dpmnews - dmnnews –
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก)และข่าวdpmpและdiplomanews
และข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม และ “สื่อสยามข่าวมวลชน”และอื่นๆฯลฯ
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน
..อีเมล์...diplomanews@gmail.comและ diplomapress@yahoo.com
วันใดที่เราไม่ได้ทำข่าวแสดงว่าวันนั้นทีมงานของเราได้เดินทางไปต่างแดน
คอลัมนิสต์ นามปากกา “คนพิเศษ” (ผู้ตรวจข่าวฉบับที่1.)
คอลัมนิสต์ นามปากกา “คนได้บุญ” (ผู้ตรวจข่าวฉบับที่2.)
รองฯ กรรณชัย (นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) รอง บ.ก. ดูแลข่าวตำรวจ
(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย)
(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น