วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

“รพ.จุฬาลงกรณ์” มอบชีวิตให้ผู้ป่วยโรคไต (น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์...ถ่ายทอด).......

“รพ.จุฬาลงกรณ์” มอบชีวิตให้ผู้ป่วยโรคไต
ใช้เทคนิคใหม่รักษา สำเร็จ!! รายแรกในอาเซียน



วันนี้ (5 เมษายน 2559) เวลา 13.00 น. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด ด้วยเทคนิคล้างน้ำเหลืองปลูกถ่ายไตโดยไม่ทำลายภูมิคุ้มกันทั้งหมด เป็นรายแรกในอาเซียนเพื่อ “มอบชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยโรคไต” ณ ห้องประชุม 60/1 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์     และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กล่าวถึงภารกิจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ให้การรักษาผู้ป่วยโรคไตมาเป็นเวลานาน ได้มีการส่งเสริมการวิจัยอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2515   ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นการผ่าตัดไตข้ามหมู่เลือดในปี 2551 อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ถึงกระนั้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็มิได้หยุดยั้งในการพัฒนาการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข และจัดตั้ง “ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” และล่าสุดนี้ทางทีมแพทย์ พยาบาล ฯลฯได้พัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ล้างน้ำเหลือง ก่อนการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดที่สามารถล้างเฉพาะภูมิคุ้มกันร่างกายชนิดที่ต่อต้านการข้ามหมู่เลือดออกเท่านั้น นับว่าเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ผู้ป่วยที่รอรับการบริจาคอวัยวะไม่ต้องรอนาน หากมีญาติพี่น้องที่สามารถบริจาคให้แก่กันได้ ก็สามารถทำการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้

                ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ รองหัวหน้าหน่วยโรคไต ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  และผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง ความสำเร็จของการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดด้วยเทคนิคการล้างน้ำเหลืองที่ไม่ทำลายภูมิคุ้มกันทั้งหมด
                ในปี พ.ศ. 2551 คณะผู้ทำงานผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้ปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนไตข้ามหมู่เลือด เนื่องจากผู้ป่วยมีน้องชายซึ่งมีหมู่เลือดต่างกันประสงค์จะบริจาคไตให้ (หมู่เลือด ให้หมู่เลือด O)  หลังจากการปรึกษาหารือพร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดและผลของการผ่าตัดทั้งผู้ป่วยและน้องชายสมัครใจที่จะเป็นผู้ปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดเป็นคู่แรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นคู่แรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551
                ปัจจุบัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ร่วมคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อการพัฒนางานด้านปลูกถ่ายไตผู้ป่วยที่ยังมีชีวิต (Living donor) ซึ่งสามารถทำได้กับผู้ป่วยและผู้ให้ไตที่หมู่เลือดเข้ากันไม่ได้ เป็นการร่วมงานกันเป็นครั้งแรกระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยความอนุคราะห์ของท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล ประจำราชอาณาจักรนอร์เวย์ และทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยการประสานงานของคณะทูตไทย-นอร์เวย์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
จากวิธีการเดิมของปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดนั้นใช้วิธีการกำจัดแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันชนิดที่เป็นตัวป้องกันความแตกต่างของหมู่เลือดออกไปทั้งหมด ซึ่งพบว่ามีอยู่เพียง 1ของภูมิคุ้มกันทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด โดยสามารถล้างเอาแค่ภูมิคุ้มกันร่างกายชนิดที่ต่อต้านการข้ามหมู่เลือดออกมาในส่วนของ 1นั้นเลยโดยไม่ทำลายภูมิคุ้มกันทั้งหมด
โครงการด้วยเทคนิคล้างน้ำเหลืองปลูกถ่ายไตโดยไม่ทำลายภูมิคุ้มกันทั้งหมดนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จนถึง 19 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้ป่วยคือ นายพรชัย โชติวัฒนภิญโญ อายุ 52 ปี หมู่เลือด และผู้ให้คือน้องสาว ชื่อ น.ส.อารีทัย  แซ่จู อายุ 46 ปี หมู่เลือด AB โดยค่า creatinine ก่อนกลับบ้าน 1.47 mg/dl
สรุปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ทำการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดทั้งหมดจำนวน 16 ราย

รศ.นพ.พัฒน์พงศ์  นาวีเจริญ  หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์   กล่าวถึง ความสำคัญในการผ่าตัดของผู้ให้และผู้รับ ในการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด ที่ต้องใช้ห้องผ่าตัด 2 ห้องใกล้เคียงกัน และทีมแพทย์ผ่าตัดจำนวน 2 ทีมที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล  วิสัญญีแพทย์ ฯลฯ ดำเนินการผ่าตัดพร้อม ๆ กัน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

คุณนันทา  มหัธนันท์  หัวหน้าหอผู้ป่วยตึกธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยและผู้ให้อวัยวะก่อนผ่าตัด ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมรับการปลูกถ่ายไตใหม่ และต้องมีการล้างน้ำเหลือง (เฉพาะภูมิคุ้มกันร่างกายชนิดที่ต่อต้านการข้ามหมู่เลือดออกเท่านั้น) ก่อนการผ่าตัดประมาณ 4 ครั้ง ส่วนหลังการผ่าตัดต้องดูแลร่างกายในการปรับตัวเมื่อได้รับไตใหม่และต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
                นายพรชัย โชติวุฒนภิญโญ (ผู้ป่วย)
                กล่าวแสดงความรู้สึกที่ได้รับการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือด จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
                               /////////////////////////////////////////////////////////////
ทีมงานน.ส.พ.ดีโพลมานิวส์.....ถ่ายทอด.....
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร.....
ดังมีรายนามผู้บริหารดังนี้…. บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ.....
(พี่เทพ) (บรรณาธิการและหัวหน้ากองบรรณาธิการ).....
อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และห.น.ศูนย์วิทยุน.ส.พ.ดาวสยาม...
จตุพล (บ.ก.บริหาร 3 สื่อ) บุญรุ่ง พวงทอง.....
(อดีตคนเดลิมิเร่อร์) สุพรรณษา แซ่อั๊ง(นามปากกา"ผักบุ้ง)
บรรทิศ คนเมืองคอน(ผู้ช่วย บ.ก.ดีโพลมานิวส์).....
สุจิตรา(นามปากกา หญิงเหล็ก”).....
ปฐมภพ(นามปากกา คนสายกลาง”).....
สมชัย(นามปากกา"พฤกษ์ภิรมย์')ที่ปรึกษาบ.ก......
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ.....
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี!).....
เสริมสุข ขวัญปัญญา(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
นงลักษณ์ สุขจิรัง(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
โทร.099-2612588 หรือ 086 – 7928056).....
ข่าวที่เห็นอยู่นี้เป็นตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น.....
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้ง(หลายสื่อ).....
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวร่วมหลายแสนคน.....
dpm2554@gmail.com(เรามีพันธมิตรสื่อจำนวนมาก).....
คอลัมนิสต์นามปากกาคนพิเศษ”(ผู้ตรวจข่าวคนที่1.).....
รองฯ กรรณชัย (นามปากกาผู้กองแอ๊ด”).....
รอง บ.ก. ดูแลข่าวตำรวจ.....(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย).....

........................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น