วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ (ผักบุ้ง...รายงาน)(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และน.ส.พ.สายกลางฯ...(ถ่ายทอด)ประจำวันที่…..8 พ.ย. 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ (ผักบุ้ง...รายงาน)(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และน.ส.พ.สายกลางฯ...(ถ่ายทอด)ประจำวันที่..8 พ.ย. 2559


หนังสือพิมพ์แนวหน้า(เครดิต)-- ศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2559 00:00:29 น.
เนื่องในวันโรคลมพิษโลก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยในปีนี้ โรงพยาบาลศิริราชได้จัดกิจกรรม “ศิริราชห่วงใย ชวนใส่ใจโรคลมพิษ” ซึ่งมีทั้งการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษและยา รวมถึงการทดสอบต่างๆ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคลมพิษ พร้อมส่งเสริมให้คนไทยหันมาให้ความสนใจกับโรคลมพิษ ที่แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่นับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ ภายในงานได้มีกลุ่มผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคลากรทางแพทย์ เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 120 คน

ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่าโรคลมพิษเป็นโรคหนึ่งที่คนในสังคมรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าโรคลมพิษสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งยังมีความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมพิษอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่คนไทยไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่งเพราะโรคดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับคุณหรือคนใกล้ชิดก็เป็นได้

โรคลมพิษ (Urticaria) เป็นโรคที่ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง (Wheals) ไม่มีขุยมีขนาดต่างๆ ได้ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ มีอาการคัน เกิดขึ้นเร็วและกระจายได้ทั่วตัว แต่ละผื่นมักจะคงอยู่ไม่นาน โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่นๆ ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีริมฝีปากบวม ตาบวม(Angioedema) ในบางรายอาจมีอาการปวดท้องแน่นจมูก คอ หายใจไม่สะดวก รายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการหอบหืด เป็นลมจากความดันโลหิตต่ำได้ แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นรุนแรงนี้มีเพียงจำนวนน้อย

ทั้งนี้ โรคลมพิษแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคลมพิษเฉียบพลัน คือ ผื่นลมพิษเป็นมาไม่เกิน6 สัปดาห์ และโรคลมพิษเรื้อรัง คือมีอาการเป็นๆ หายๆอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ แต่มีอาการอย่างต่อเนื่องนานถึง 6 สัปดาห์ขึ้นไป จากข้อมูลทางสถิติของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังในประเทศไทย ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวที่คลินิกโรคลมพิษ ภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราช พบว่า ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยโรคลมพิษเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ปี ซึ่งตลอดช่วงชีวิตของคนทั่วไปจะมีโอกาสเกิดโรคลมพิษเรื้อรัง ได้ประมาณร้อยละ 0.5-1

โรคลมพิษเรื้อรัง มักจะส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นกังวลที่ต้องคอยระวังการดำเนินชีวิตตลอดเวลาการรักษานอกจากยาแล้ว การหลีกเลี่ยงจากภาวะบางอย่างที่อาจกระตุ้นให้ผื่นที่มีอยู่มีอาการมากขึ้น จึงอาจเป็นวิธีการช่วยเบื้องต้นที่ดี เช่น อาหาร ผู้ป่วยที่มีผื่นลมพิษเรื้อรังบางรายอาจมีอาการลมพิษเห่อขึ้นเมื่อรับประทานอาหารบางชนิด ยา ยาบางชนิดเช่น ยาต้านอักเสบ (NSAIDs) แอสไพริน อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ ประมาณร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังในช่วงที่โรคกำลังเป็นมาก ตัวกระตุ้นทางกายภาพ เช่น การกดรัดของเสื้อผ้าที่เป็นผ้ายืดหรือเข็มขัด ก็อาจผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นให้ผื่นลมพิษเห่อได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัวขึ้นการติดเชื้อไวรัส อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ความเครียด อาจทำให้ผื่นลมพิษเห่อขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ขณะเดียวกันโรคลมพิษเองก็ทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดด้วยเช่นกัน

“สำหรับแนวทางการรักษาโรคลมพิษเรื้อรัง ในกรณีที่สามารถสืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮิสตามีนไปแล้วผื่นลมพิษมักหายได้เร็วแต่หากหาสาเหตุไม่พบหรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย แพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปเพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษให้ได้และเมื่อควบคุมอาการได้แล้วจึงค่อยๆ ลดยาลง เพื่อควบคุมโรคในระยะยาว จนถึงพยายามหยุดยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาที่มากขึ้นทั้งยารับประทานและยาฉีด เพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้” ศ.พญ.กนกวลัย กล่าวในที่สุด

ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์
กิจกรรม "ศิริราชห่วงใย ชวนใส่ใจ โรคลมพิษ"(เครดิต)

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/nnd/2542819(เครดิต)


๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑



“รพ.จุฬาลงกรณ์” จัดทีมแพทย์ พยาบาลจิตอาสา
บริการประชาชน ณ สนามหลวง



           โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการร่วมการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และ EMS CHULA รวมพลังจิตอาสาทำดีถวายพ่อ  ออกหน่วยบริการดูแลประชาชนที่เดินทางมาถวายสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง  ในหน่วยบริการจุดที่ 8 ตั้งแต่ 07.30 น. – 24.00 น. ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี กรมการแพทย์ทหารบก และสถาบันยุวประสาท ข้างพระบรมมหาราชวัง ฝั่งสนามหลวง (ตรงข้ามช้างสามเศียร)
***************************************************************
สามารถดาวน์โหลดภาพเพิ่มเติมได้ที่  เฟสบุ๊ค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒๒

/////////////////////////////////////////////////////////////
ทีมงาน(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และน.ส.พ.สายกลางฯถ่ายทอด).......
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร.....
ดังมีรายนามผู้บริหารดังนี้…. บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ.....
(พี่เทพ) (บรรณาธิการและหัวหน้ากองบรรณาธิการ).....
อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และห.น.ศูนย์วิทยุน.ส.พ.ดาวสยาม...
ผู้อำนวยการน.ส.พ.สายกลางฯ
จตุพล (บ.ก.บริหาร 3 สื่อ) บุญรุ่ง พวงทอง.....
(อดีตคนเดลิมิเร่อร์) สุพรรณษา แซ่อั๊ง(นามปากกา"ผักบุ้ง).....
สุพัฒน์กฤต(ป้อม) เจ้าของสื่อหลายฉบับ ที่ปรึกษา บ.ก......
บรรทิศ คนเมืองคอน(ผู้ช่วย บ.ก.ดีโพลมานิวส์).....
สุจิตรา(นามปากกา หญิงเหล็ก”).....
ปฐมภพ(นามปากกา คนสายกลาง”)....ผู้ช่วยบ.ก….
สมชัย(นามปากกา"พฤกษ์ภิรมย์').....ที่ปรึกษาบ.ก......
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ.....ที่ปรึกษา......
ชมรมนักข่าวช่วยสังคม......(ที่ปรึกษา).....
เสริมสุข ขวัญปัญญา(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
นงลักษณ์ สุขจิรัง(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
โทร.099-2612588(ไลน์)หรือ 086 – 7928056).....
ข่าวที่เห็นอยู่นี้เป็นตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น.....
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้ง(หลักสิบสื่อ).....
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวร่วมหลายแสนคน.....
dpm2554@gmail.com(เรามีพันธมิตรสื่อจำนวนมาก).....
คอลัมนิสต์นามปากกาคนพิเศษ”(ผู้ตรวจข่าวคนที่1.).....
รองฯ กรรณชัย (นามปากกาผู้กองแอ๊ด”).....
รอง บ.ก. ดูแลข่าวตำรวจ.....(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย).....
……………………………………………………………….
(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และน.ส.พ.สายกลางฯถ่ายทอด).......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น