“R3” ถนนแห่งความมั่งคั่งของ SMEs ไทยสู่แดนมังกร
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics แนะ ใช้ถนนสายยุทธ์
ศาสตร์ R3 เป็นสายพานลำเลียงสินค้าผ่านด่านเชียงราย เจาะตลาดจีนตอนใต้
ถึงนครคุนหมิง กระตุ้นส่งออก SMEs ไทยไปจีน
ในขณะที่ตัวเลขส่งออกไทยแสดงถึงการพึ่งพาตลาดจีนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่การบุกตลาด
จีนสำหรับ SMEs ไทยนั้นกลับไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งที่การส่งออกไปจีนฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย โดยในช่วง 5
เดือนแรกปีนี้ มูลค่าการส่งออกไทยไปยุโรปและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.4 และร้อยละ 2.4
แต่มูลค่าการส่งออกไปจีนกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.9 โดยล่าสุดเดือนพฤษภาคมเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 25.7 เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีน
แค่ชะลอตัวลงอย่างช้าๆ (Soft Landing) ตามเศรษฐกิจโลก และ น่าจะฟื้นตัวเร็ว
(Quick Recovery) ได้ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
รวมถึงการวางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระยะยาวในภูมิภาคต่างๆ ของจีน โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งนโยบายพัฒนาเมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน เป็น “หัวสะพาน” เชื่อมการค้า-
คมนาคม ระหว่างจีนตอนใต้ (มณฑลหยุนหนานและกวางสี) กับเอเชียใต้(อินเดีย) และ
อาเซียน (ไทย เวียดนาม ลาว พม่า) โดยเปิดใช้สนามบินนานาชาติฉางสุ่ยในนครคุนห
มิงที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศด้วยงบลงทุนกว่า 1.1 แสนล้านบาท รองรับผู้
โดยสารกว่า 68 ล้านคนต่อปี (สุวรรณภูมิรองรับเพียง 45 ล้านคนต่อปี) พร้อมแผน
ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทางเชื่อมต่อเมืองคุนหมิงกับไทย พม่า และเวียดนาม
และโครงข่ายถนนเชื่อมต่อจีนตอนใต้กับอาเซียน (ถนนสาย R3) โดยเข้าสู่ประเทศไทย
ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญสำหรับ SMEs ไทยจะสามารถเข้ามาใช้
ประโยชน์จากการเชื่อมโยงการค้าสู่ตลาดขนาดใหญ่และมีการเติบโตสูงในปัจจุบันและ
อนาคต โดย TMB Analytics เห็นว่า SMEs ไทยจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากถนนสาย
R3 ทั้ง SMEs ในภาคเหนือและทั่วประเทศ
|
1. SMEs ในภาคเหนือสามารถค้าขายกับ
จีนตอนใต้โดยตรง แม้ว่าปัจจุบันมูลค่า
ส่งออกจากไทยไปจีนตอนใต้เพียง 3.7 พันล้านบาท ซึ่งมูลค่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับ
มูลค่าส่งออกของไทยไปพม่าและลาวที่สูงถึง 33.5 และ 11.4 พันล้านบาท หาก
SMEs ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากถนนสาย R3 เชื่อมโยงการค้า ก็จะเพิ่มมูลค่า
ส่งออกได้อีกมหาศาล เพราะจีนตอนใต้มีประชากรถึง 92.8 ล้านคน ซึ่งมากกว่า
คนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่ SMEs ไทยได้เปรียบในการผลิตและขายดี
ในตลาดจีน เช่น ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแปรรูป(ข้าว ธัญพืช
ผลไม้ พืชผัก และเมล็ดธัญพืช) ซึ่ง SMEs มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและถนัดใน
ธุรกิจด้านนี้ นอกจากถนนสาย R3 เป็นสายพานลำเลียงสินค้าสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว
ยังช่วยลดต้นทุนการส่งออก โดยเฉพาะค่าขนส่ง เนื่องจากย่นระยะทางการส่งสินค้า
สู่ตลาดจีนตอนใต้ (จากเดิมต้องส่งผ่านเมืองท่าฝั่งตะวันออกของจีนก่อนแล้วจึงส่งต่อ
ไปตลาดจีนตอนใต้) และลดระยะเวลาการขนส่งซึ่งเปิดโอกาสให้การส่งออกสินค้า
เกษตรและอาหารของธุรกิจ SMEs ภาคเหนือง่ายขึ้น ต้นทุนบริหารจัดการลดลง ในทาง
กลับกัน SMEs ภาคเหนือที่นำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปจากจีน ยังสามารถนำเข้า
ได้ง่าย เร็ว ทำให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง เพิ่มกำไรและความสามารถในการแข่งขันอีก
ด้วย
2. SMEs ทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าส่งออกไปจีนสูง คือ
อุตสาหกรรมอุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ (SMEs ภาคกลาง) ผลิตภัณฑ์เคมีและ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก (SMEs ภาคตะวันออก) มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมูลค่า
ส่งออก เดือนพฤษภาคมปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ขณะที่ภาคการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์
ยางพารา (SMEs ภาคใต้) ผลิตภัณฑ์แป้งและมันสำปะหลัง (SMEs ภาคเหนือและ
อีสาน) ก็มีการมูลค่าส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในเดือนพฤษภาคมปีนี้เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 10.1 ดังนั้นเมื่อถนนสาย R3 แล้วเสร็จ จะทำให้ SMEs ไทยได้เปรียบคู่แข่งด้าน
ต้นทุน-ระยะเวลาขนส่ง และสามารถส่งออกไปยังตลาดขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตสูง ซึ่ง
เห็นได้จากมูลค่าสัญญาธุรกิจการค้าที่เกิดขึ้นกว่า 2.4 แสนล้านบาทจากการจัดงาน ส่ง
ออก-นำเข้านครคุนหมิงครั้งที่ 20 (20th Kunming Fair) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
อีกทั้งพื้นที่จีนตอนใต้ได้เริ่มพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ทำให้การแข่งขันในตลาดยังไม่รุนแรงเท่ากับพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกของจีน เช่น
เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เทียนสิน เป็นต้น ถนนสาย R3 จึงถือเป็นสะพานลำเลียงสินค้าของ
SMEs ไทยสู่ตลาดจีนตอนใต้อย่างแท้จริง และน่าจะสร้างมูลค่าส่งออกแก่ SMEs ไทย
เพิ่มขึ้นได้อีกมากในอนาคต
ดังนั้น หากเรามีการวางกลยุทธ์ในการใช้ถนนสาย R3 รุกตลาดจีนตอนใต้ที่ชัดเจนแล้ว
SMEs ไทยจะได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากถนนสายนี้ ในฐานะของ”สะพานลำเลียง
สินค้า”อย่างแท้จริง เมื่อประเทศเศรษฐกิจอันดับสองของโลกกลับมาเร่งเครื่องอีกครั้ง
เพราะเศรษฐกิจแดนมังกรยังคงเติบโตต่อเนื่องไปอีกนาน
5 เดือนแรกปี 2555
(ล้านบาท)
|
อัตราขยายตัว
(%)
|
SMEs ที่จะได้ประโยชน์ จากการเป็นฐานการผลิตหลัก
ของสินค้าส่งออกสำคัญไปจีน
| |
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
|
64,550
|
13.0
|
SMEs ภาคกลาง
|
2. ยางพารา
|
45,099
|
-10.8
|
SMEs ภาคใต้
|
3. ผลิตภัณฑ์ยางและมันสำปะหลัง
|
44,728
|
4.9
|
SMEs ภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคเหนือ
|
4. เคมีภัณฑ์
|
35,451
|
25.4
|
SMEs ภาคตะวันออก
|
5. เม็ดพลาสติก
|
29,022
|
8.3
|
SMEs ภาคตะวันออก
|
6. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
|
12,617
|
32.3
|
SMEs ภาคเหนือ
|
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
ขอขอบพระคุณข้อมูลข่าวหรือภาพจากผู้มีชื่ออยู่ด้านบนนี้ทุกๆท่าน
รายงานข่าวโดย.....
(รหัสพิเศษ516) น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และ dpmnews
และชมรมนักข่าว2000, และ ศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก
ศูนย์รวมพี่น้องสื่อมวลชนหลายสถาบัน (รายงานข่าว)
ข่าวนี้จะนำไปลงตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ของเราอีกครั้ง
นี่คือตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ยังมีข่าวอื่นๆอีกมากมาย
.....................................................................................
บ.ก.เกรียงไกร ไตรสัมฤทธิ์ผล
(ควบคุมคอลัมน์) โทร.086-7928056
อีเมล์ของเราคือ.......
diplomanews@gmail.com
dmnnews@gmail.com และ
dpm2554@gmail.com และ
ยกเลิก diplomanews@hotmail.com
นอกจากข่าวนี้แล้วยังมีข่าวย้อนหลังให้ดูอีกมากมาย
ขอให้คลิกไล่ดูอาจจะอยู่ทางขวามือหรืออาจจะอยู่ทางซ้ายมือ
เรายังมีพันธมิตรที่ร่วมลงข่าวให้กับสื่อในเครือของเราอีกหลายสื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น