วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คาดการณ์ “ดอกเบี้ย” 3% มาจากไหน?(รหัสพิเศษ636


คาดการณ์ “ดอกเบี้ย” 3% มาจากไหน?
ดอกเบี้ยนโยบายไทยกับตัวแปรเศรษฐกิจที่สำคัญ
 
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ
TMB Analytics คาด กนง.คง
ดอกเบี้ยยาวยันปลายปี มองอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3% ยังสอดคล้องกับ
เศรษฐกิจมหภาคไทย
ที่มาธปท., TMB Analytics

 
หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยมีมติ “คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ไว้ที่
3% สี่ครั้งรวด (ประชุมล่าสุดเมื่อ 25 ก.ค. 55) และ
คาดคงดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ห้า ในการประชุม 5
ก.ย.นี้ แต่ด้วยโมเมนตัมเศรษฐกิจโลกที่แผ่วลง และวิกฤตหนี้ยุโรป ส่งผลกระทบต่อ
ภาคส่งออก ทำให้มุมมองในการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มมากขึ้น  
TMB Analytics มองว่าอัตรา 3% ยังคงเป็นอัตราที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยในภาว
การณ์ปัจจุบัน เพราะหากพิจารณาจากเป้าหมายของนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่ง
เสถียรภาพด้านราคา จะเห็นว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสสองได้แผ่วลงจากสามเดือน
แรกของปีมาอยู่ที่ระดับ 1.9% ซึ่งใกล้กับจุดกึ่งกลางของกรอบเป้าหมายที่ กนง.
ประกาศไว้ที่ 0.5-3.0% ต่อปี ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ภาวะนโยบายการเงินยังคงมีน้อย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาพันธกิจควบคู่ของ ธปท.
ในการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง จะได้ข้อสรุปที่คล้ายกันว่า ยังไม่มีความจำเป็น
ที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เนื่องจากผลผลิตมวลรวม (GDP) ในปัจจุบันได้ขยาย
ตัวสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น (Potential output) ประมาณ 2.5% จากอานิสงส์การฟื้น
ตัวอย่างรวดเร็วภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปีที่ผ่านมา สะท้อนจาก GDP โตดีเกินคาดใน
ไตรมาสสอง (ขยายตัว 4.2%) ดังนั้น การลดดอกเบี้ยจึงอาจทำให้เศรษฐกิจไทยร้อน
แรงเกินไป ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นได้
(1)
ต้นทุนกู้
ยืม
+
(2)
เงินเฟ้อ
+
(3)
ส่วนต่างเงินเฟ้อ
+
(4)
ส่วนต่าง GDP
=
ผลรวม
0.5%
1.9%
(1.9% – 1.75% ) ÷ 2
2.5% ÷ 2
3.7%
ที่มา: คำนวณโดย TMB Analytics
เรามาลองพิจารณาเพิ่มเติมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากการใช้ “กฎของเทเลอร์” (Taylor’s rule) กฎดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการว่า สามารถคาดการณ์การตัดสินใจนโยบายได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยการคำนวณอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาจากผลรวมของ 4 ส่วน
ได้แก่ (1) ต้นทุนที่แท้จริงของการกู้ยืมเงินในระยะยาว โดย งานศึกษาส่วนใหญ่ของ
ธปท. สมมติให้อยู่ที่ 0.5% (2) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปัจจุบัน (3)กึ่งหนึ่งของอัตรา
เงินเฟ้อส่วนที่สูงกว่าค่ากลางของกรอบเป้าหมาย และ (4) กึ่งหนึ่งของ GDP ที่สูงกว่า
ระดับที่ควรจะเป็น ดังนั้น เมื่อคำนวณตามวิธีดังกล่าวแล้วจะพบว่า อัตราดอกเบี้ย
นโยบายที่ควรจะเป็นอยู่ที่ระดับ 3.7% (แสดงดังตาราง) สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ปัจจุบันที่ 3% มีนัยว่า นโยบายการเงินของ ธปท.อาจผ่อนคลายเพียงพอแล้วในภาว
การณ์ปัจจุบันเมื่อเทียบกับกฎของเทเลอร์ หรือในมุมกลับกัน จากการคำนวณด้วยกฎ
ของเทเลอร์ หากดอกเบี้ยนโยบายจะถูกปรับลดจากระดับปัจจุบันราว 0.25% เศรษฐกิจ
ไทยต้องการขยายตัวในไตรมาสสามเพียง 2% เท่านั้น
ถึงแม้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอาจจะนำไปสู่การไหลออกของเงินทุน ทำให้เงิน
บาทอ่อนค่าลงและอาจช่วยเหลือผู้ส่งออกได้ ตามแนวคิดทฤษฎีความเสมอภาคของ
อัตราดอกเบี้ย (Interest parity) แต่ทฤษฎีเดียวกันนี้ก็ชี้ว่า การอ่อนค่าของเงินบาทใน
ช่วงแรกจะทำให้สินทรัพย์ในประเทศมีราคาถูกลงในสายตาของต่างชาติ (หนึ่งดอลลาร์
เท่าเดิมจะซื้อหุ้นไทยได้มากขึ้น) และเมื่อรวมกับเงินตราต่างประเทศที่ผู้ส่งออกอาจได้
รับจากยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้บาทกลับมาแข็งค่าได้ในระยะต่อไป การควบคุม
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศไม่ให้ขยับมาก จึงเป็นการรักษาเสถียรภาพของ
อัตราแลกเปลี่ยนไปในตัว
โดยสรุป เมื่อมองเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว หากความเสี่ยงขาลงจากปัจจัยนอก
ประเทศ ไม่ได้ทวีความรุนแรงจนเกินคาด กนง. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ
3% จนถึงปลายปี และอาจมีแนวโน้มขาขึ้นในปีหน้าจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
ได้จากการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ
ขอขอบพระคุณข้อมูลข่าวหรือภาพจากผู้มีชื่ออยู่ด้านบนนี้ทุกๆท่าน
รายงานข่าวโดย.....
(รหัสพิเศษ636) น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และ dpmnews
และชมรมนักข่าว2000, และ ศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก
ศูนย์รวมพี่น้องสื่อมวลชนหลายสถาบัน (รายงานข่าว)
ข่าวนี้จะนำไปลงตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ของเราอีกครั้ง
นี่คือตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ยังมีข่าวอื่นๆอีกมากมาย
.....................................................................................
บ.ก.เกรียงไกร   พรเทพ (คนดาวสยาม)
(ควบคุมคอลัมน์) โทร.081 – 7713997
ผช.กรรณชัย (นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยฯ
ปฐมภพ(นามปากกา "คนสายกลาง")ประสานงาน
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) ฝ่ายบริหาร
นิรัญ(นามปากกา รัตน์นิรมล) NIRUNMUK (pen name)
  สุรินทร์(นามปากกาทนายสื่อมวลชน)ที่ปรึกษากฎหมาย
 อีเมล์ของเราคือ.......
diplomanews@gmail.com
dpm2554@gmail.com และ
นอกจากข่าวนี้แล้วยังมีข่าวย้อนหลังให้ดูอีกมากมาย
ขอให้คลิกไล่ดูอาจจะอยู่ทางขวามือหรืออาจจะอยู่ทางซ้ายมือ
เรายังมีพันธมิตรที่ร่วมลงข่าวให้กับสื่อในเครือของเราอีกหลายสื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น