หวนมองยุค “เป้าหมายเงินเฟ้อ”(รหัสพิเศษ603)
นโยบายการเงินแบบเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ยังจะเหมาะกับ
เศรษฐกิจไทยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายนโยบาย
เศรษฐกิจมหภาค เพราะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในทุกมิติพร้อมๆกัน
ก่อนมาเป็น “เป้าหมายเงินเฟ้อ” ดังเช่นปัจจุบัน (เริ่มใช้ตั้งแต่กลางไตรมาสสองปี
2543) ประเทศไทยเคยใช้นโยบายการเงินมาแล้วหลายรูปแบบ ทั้ง เป้าหมาย
อัตราแลกเปลี่ยน (ก่อนกรกฎาคม 2540) และ เป้าหมายปริมาณเงิน (กรกฎาคม
2540 ถึง กลางไตรมาสสองปี 2543) แม้นโยบายการเงินแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสีย
ที่แตกต่างกันไป โดยหากพิจารณาประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วจะเห็นได้ว่า ใน
ช่วงที่ใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจไทยมีความร้อนแรง และเครื่องชี้
วัดด้านราคาทรงตัวในระดับค่อนข้างสูง แต่หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรับมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อ ทำให้ระดับราคามีเสถียรภาพมากขึ้น และอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำลงมา แต่ก็มิได้แย่ซะทีเดียว โดยอัตรา
เงินเฟ้อพื้นฐาน (เป็นอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด)
เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้เกือบจะร้อยทั้งร้อย (ปี 2543-
2552 กรอบคือ 0% - 3.5% สำหรับปี 2553 เป็นต้นมา กรอบคือ 0.5% -
3.0%)
แต่ปัจจัยการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เร็วขึ้น ย่อมทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน จน
อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจได้ ทำให้มีบางมุมมองเสนอว่า
นโยบายการเงินแบบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะใช้ได้ผลดีกว่าเป้าหมาย
เงินเฟ้อหรือไม่ ในการบริหารเศรษฐกิจระดับมหภาค
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายๆท่าน รวมทั้งเจ้าของรางวัลโนเบลอย่าง Robert A.
Mundell ได้เคยศึกษาไว้แล้วว่า หากเศรษฐกิจใดมีการเคลื่อนย้ายทุนเสรี
นโยบายการเงินของเศรษฐกิจนั้น จะสามารถนำไปผูกกับเป้าหมายภายนอก
(อัตราแลกเปลี่ยน) หรือ เป้าหมายภายใน (อัตราดอกเบี้ย หรือ เงินเฟ้อ) ได้เพียง
อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เป็นที่รู้จักในวงการเศรษศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ
ว่า“Impossible Trinity” กล่าวคือ
1. หากให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี และ อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ก็ต้องใช้อัตรา
ดอกเบี้ยเป็นตัวแปรคอยควบคุมการไหลเข้าออกของเงิน โดยหากมีเงินจากนอก
ไหลเข้าประเทศมากเกินไป ก็ต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดแรงดึงดูดของเงินไหลเข้า เพื่อลดแรงกดดันและการเก็งกำไรบนค่าเงิน ซึ่งอาจไม่สามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งอุปสงค์ได้ หรือ หากเป็นกรณีเงินไหลออกนอกประเทศ ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยให้สูงๆ เพื่อดึงดูดเงินจากต่างประเทศ ซึ่งอาจไปชะงักการเติบโตของเศรษฐกิจ นั่นคือ ทำให้ประเทศนั้นๆจะไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจมหภาคภายในประเทศได้
2. หากต้องการให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ พร้อมๆ กับการกำหนดดอกเบี้ยให้
สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ก็ต้องมีการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย
ซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ประเทศที่ใช้นโยบายนี้จะไม่สามารถดำรง
นโยบายนี้ไว้ได้ในระยะยาว อีกทั้ง การควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย จะเป็นการเพิ่ม
ต้นทุนทางธุรกรรมให้กับเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าต่างประเทศเป็นจำนวน
มหาศาลอย่างไทย จึงเป็นมาตรการที่มีการหยิบยกขึ้นมาใช้เฉพาะในยามเข้าตา
จนจริงๆ
3. ท้ายสุด หากยังต้องการให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี และ กำหนดดอกเบี้ยให้
สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจมหภาค ด้านอัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีความ
ผันผวน เช่น ดอกเบี้ยสูง เงินไหลเข้า ค่าเงินของประเทศนั้นๆก็จะแข็ง หรือ เป็น
ในทางกลับกัน ดอกเบี้ยต่ำ เงินไหลออก ค่าเงินก็จะอ่อน เป็นต้น ดังนั้น ธนาคาร
กลางจึงต้องแทรกแซงค่าเงิน เพื่อลดทอนผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค ซึ่ง
กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลกระทบต่องบการเงินของธนาคาร
กลางได้
ทั้งนี้ IMF ได้ประมวลข้อมูลของประเทศที่ใช้เป้าหมาย
เงินเฟ้อ
กับ
ไม่
ใช้
เป้า
หมาย
เงินเฟ้อ พบว่า ในสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ประเทศที่ใช้เป้าหมายเงินเฟ้อ มีระดับเงินเฟ้อที่ลดลง อีกทั้ง
มีเสถียรภาพของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและระดับราคามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเห็นผลได้ชัดกว่าในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ แม้บางช่วงเวลาจะถูกกระทบจากวิกฤตภายนอกก็ตาม ซึ่งถ้าหากต้องการให้ธนาคารกลางมีช่องในการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนมากขึ้น ก็อาจใช้วิธีขยับเป้าเงินเฟ้อกรอบบนให้สูงขึ้นในระดับที่สมควรได้ เพื่อลดข้อจำกัดของผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจจะแรงไปบ้างเป็นบางขณะ รวมทั้ง มีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเพียงเท่าที่จะเกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศอย่างมีนัยสำคัญเท่านั้น
This document is issued by TMB Analytics, a division of TMB Bank Plc. All analyses are based on information available to the public. Although the information contained herein is believed to be reliable, TMB makes no guarantee to its accuracy and completeness. TMB may have issued, and may in the future issue, other reports that are inconsistent with, and reach different conclusions from, the information presented in this report. Opinions or predictions expressed herein reflect the authors’ views, not that of TMB, as of date of the analysis and are subject to change without notice. TMB shall not be responsible for the use of contents and its implication.
|
*******************************************
สุดาวรรณ ไชยภัทรพงศ์
สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร
ชั้น 28 ธนาคารทหารไทย
Tel: 02 242 3260.
Mobile: 083 123 9772
Fax: 02 242 3254
Sudawan Chaipatrapong
Corporate Communications
TMB Bank Public Company Limited
สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร
ชั้น 28 ธนาคารทหารไทย
Tel: 02 242 3260.
Mobile: 083 123 9772
Fax: 02 242 3254
Sudawan Chaipatrapong
Corporate Communications
TMB Bank Public Company Limited
ขอขอบพระคุณข้อมูลข่าวหรือภาพจากผู้มีชื่ออยู่ด้านบนนี้ทุกๆท่าน
รายงานข่าวโดย.....
(รหัสพิเศษ603) น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์และ dpmnews
และชมรมนักข่าว2000, และ ศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก
ศูนย์รวมพี่น้องสื่อมวลชนหลายสถาบัน (รายงานข่าว)
ข่าวนี้จะนำไปลงตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ของเราอีกครั้ง
นี่คือตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ยังมีข่าวอื่นๆอีกมากมาย
.....................................................................................
บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ
(ควบคุมคอลัมน์) โทร.081 – 7713997
ผช.กรรณชัย (นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยฯ
ปฐมภพ(นามปากกา "คนสายกลาง")ประสานงาน
อีเมล์ของเราคือ.......
diplomanews@gmail.com
dmnnews@gmail.com และ
dpm2554@gmail.com และ
ยกเลิก diplomanews@hotmail.com
นอกจากข่าวนี้แล้วยังมีข่าวย้อนหลังให้ดูอีกมากมาย
ขอให้คลิกไล่ดูอาจจะอยู่ทางขวามือหรืออาจจะอยู่ทางซ้ายมือ
เรายังมีพันธมิตรที่ร่วมลงข่าวให้กับสื่อในเครือของเราอีกหลายสื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น