วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เขี้ยวเล็บ'ตำรวจไซเบอร์' (ดีโพลมา980)


เขี้ยวเล็บ'ตำรวจไซเบอร์' (ดีโพลมา980) 

เขี้ยวเล็บ'ตำรวจไซเบอร์' (ดีโพลมา980)

เขี้ยวเล็บ'ตำรวจไซเบอร์' รู้ทัน...โจรโซเชียลเน็ตเวิร์ก : สัมภาษณ์พิเศษ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผบช.สทส.โดยพัฐอร พิจารณ์โสภณ

 http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/02/01/e65jgeiacjb6bebakkie8.jpg

http://www.komchadluek.net/detail/
ขอขอบพระคุณข้อมูลข่าวภาพจากผู้มีชื่ออยู่ด้านบนนี้ทุกๆท่าน
               ภัยสังคมในโลกออนไลน์ น่าหวาดกลัวไม่แพ้ในโลกแห่งความจริง มีหลายคนที่ต้องตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ขณะเดียวกัน "โจรไซเบอร์" ก็พัฒนาฝีมือจนตำรวจไซเบอร์ตามแทบไม่ทัน  พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผบช.สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.) จะงัดไม้เด็ดอะไรมาต่อกรกับ "โจรโซเชียลเน็ตเวิร์ก" ซึ่งเข้ามาบ่อนทำลายความสงบสุขในสังคมโลกออนไลน์
             
- รูปแบบกระทำผิดในโลกออนไลน์ที่พบบ่อยที่สุด

               ปัญหาที่พบมากคือ การนำ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" มาเป็นช่องทางในการกระทำความผิด อาทิ เว็บไซต์หมิ่น การหมิ่นประมาท โดยใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนการใช้เป็นช่องทางในการล่อลวง จนนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ, การเสนอขายสิ่งของผิดกฎหมาย, การแฮ็กข้อมูลจากการที่เราหลงเชื่อเรื่องการได้รับรางวัลโดยที่ไม่มีเหตุผล ถ้าเราไม่หลงกลหรือสมัครใจเขาก็ทำได้ยาก ปัญหาเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาหลักที่มีคนตกเป็นเหยื่อถึงแม้จะไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีคนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่ออยู่ เขาก็มีการเปลี่ยนแปลงลูกเล่นในการหลอกให้ใหม่ขึ้น
 - ช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถจับตัวคนร้ายที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กก่อเหตุ

               โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินในบ้านเรานั้นยังไม่ถูกบังคับให้จดทะเบียน คนร้ายจึงนิยมใช้มือถือไม่จดทะเบียน ทำให้เรารู้แต่เบอร์เขาแต่ไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร ซึ่งเขาจะใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงถ้อยคำหยาบคาย หรือส่งข้อความจากมือถือขึ้นไปบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการหมิ่นประมาทในกรณีต่างๆ การหมิ่นสถาบัน หรือการนำมาก่อเหตุในสามจังหวัดชายแดนใต้ ปัญหานี้ ทำให้ตำรวจทำงานค่อนข้างลำบาก ในการสืบสวนในทางอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนจะชี้เป้าให้ข้อมูลเพื่อไปดำเนินการจับกุม ตอนนี้มีปัญหาการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการกระทำผิดส่งมาที่เราทุกวัน เมื่อตรวจสอบการกระทำความผิดแล้วมักพบว่ามาจากมือถือที่ไม่ได้จดทะเบียน จึงอยากให้มีการบังคับให้จดทะเบียน เพราะประเทศอื่นๆ ในโลกที่เจริญแล้วตอนนี้เขาจดทะเบียนเบอร์โทรศัพท์มือถือกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ต้องจดทะเบียน ตอนนี้กำลังเร่งประสานกับ กสทช. ในเรื่องการดำเนินการจดทะเบียนให้ได้ ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหาตัวคนผิดมาลงโทษได้ง่ายขึ้น
- ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กมีความยุ่งยากเพียงใด

               การวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามาจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เฟซไทม์ และไลน์ นั้นเป็นข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามาตามสาธารณะ ซึ่งกำลังมีการจัดหาระบบมาวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากโซเชียลเน็ตเวิร์กทั้งหมดที่ส่งเข้ามา เพื่อที่เราจะได้รู้ข้อมูลได้รวดเร็วและทันท่วงที จะเป็นโปรแกรมที่มาวิเคราะห์การอ่านกำลังเซ็ตว่าควรจะเป็นอย่างไร ที่เรียกว่า "Business Intelligence หรือ BI" เช่นเราตั้งคำว่า "ระเบิด" ก็จะมีการรวบรวมข้อมูลที่คนพูดถึงระเบิดทุกๆ อันเข้ามารวมไว้ เราจะต่อเชื่อมจากเอพีไอเข้ามา หรือมีคนเป็นพันคนพูดถึงคำว่า "ทำเนียบ" แล้วจะไปที่นั่นภายในชั่วโมงเดียว เราวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าหลายคนจะไปที่นั่นเพื่อทำอะไร

               อย่างเช่น เมื่อหลายวันก่อนที่มีการจับนายสมชาย คุณปลื้ม ที่ไม่มีคนพูดถึงมานานแล้ว แต่เมื่อเกิดเหตุก็มีคนจับได้ จะมีคนโพสต์ข้อความว่าถูกจับแล้วเป็นจำนวนมาก ทำไมถึงต้องมีการพูดถึงก็จะต้องมีการวิเคราะห์ออกมาให้ได้ ทั้งนี้ ในเรื่องของข้อมูลหลายๆ ผู้ให้บริการต้องอนุญาตให้ตำรวจเข้าถึงข้อมูลอย่างในประเทศอาหรับใช้โซเชียลมีเดียในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เขาจะตั้งโปรแกรมตรวจสอบขึ้นมา เมื่อทราบความเคลื่อนไหวในการติดตามผู้ที่ประสงค์ร้ายได้ทันท่วงที อย่างมีคนโพสต์ว่าจะไปแอลเอแล้วเอาระเบิดไปวางนะ พอไปถึงสนามบินก็จะมีเจ้าหน้าที่มาต้อนรับแน่นอน โดยเฉพาะประเทศอเมริกาเป็นการเสิร์ชและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วโลก ระบบนี้เรามีการคิดและหาข้อมูลอยู่ประมาณ 2 ปี ว่าจะทำอย่างไรกับระบบนี้ ตอนนี้ พยายามเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศึกษาเรื่องงบประมาณอยู่


- การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิมเป็นอย่างไร

               ใช้คนเสิร์ชข้อมูลแล้วมานั่งวิเคราะห์จากการตั้งคีย์เวิร์ดไว้ แต่ระบบใหม่จะวิเคราะห์และจัดเรียงให้เสร็จ   เสิร์ชได้ ลึก กว้าง ครบ รวมทั้งมีการวิเคราะห์โดยที่เราไม่เข้าไปยุ่งกับเรื่องส่วนตัว จะใช้กับเรื่องความมั่นคงเท่านั้น ไม่น่าจะมีปัญหากับผู้ใช้ถ้าเขาไม่โพสต์อะไรที่มีความสุ่มเสี่ยง เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยจะทำให้ตำรวจทำงานได้ง่ายขึ้น ต้องยอมรับว่า การวิเคราะห์ข้อมูลระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ก เรายังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันผมก็เป็นคนหนึ่งในการช่วยวิเคราะห์จากการเล่นทวิตเตอร์ จะมีคนร้องเรียนเข้ามาเยอะมาก ต้องรับเรื่องก่อนจะประสานข้อมูลท้องที่ให้เขา เป็นหน้าที่หนึ่งที่เราสามารถช่วยได้

- เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้ตำรวจไซเบอร์ทำงานง่ายขึ้น

               ตอนนี้มี "ระบบ CRIMES" เป็นระบบสารสนเทศสถานีตำรวจรูปแบบใหม่ กำลังติดตั้งที่จะมาทดแทนระบบ POLIS ซึ่งใช้มาประมาณ 10 กว่าปี ระบบที่เปลี่ยนใหม่นี้ จะเป็นระบบออนไลน์ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบงานบันทึกข้อมูล ระบบงานสืบค้นข้อมูล ระบบแจ้งเตือน ระบบงานบริการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานบริหารจัดการข้อมูลและระบบ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ทั้งในด้านงานสอบสวน งานป้องกันปราบปราม งานจราจร รวมไปทั้งเป็นจุดศูนย์กลางสู่การเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลของหน่วยงานอื่นทั้งในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเอง หรือหน่วยงานภายนอก โดยระบบเดิมก็จะคงไว้เพื่อสนับสนุน คาดว่าประมาณสิ้นปี 2556 นี้จะมีการติดตั้งเรียบร้อย ข้อดีคือ ข้อมูลจะเป็นระบบอยู่ตลอดเวลา

               สมมุติมีการคีย์ ชื่อ "นายเอ" ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของโรงพักนี้ ก็จะไปขึ้นในระบบ ตำรวจทุกคนจะทราบหมด จะช่วยให้ตำวจสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยและอาชญากรได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ขณะนี้ได้เชื่อมโยงระบบเข้ากับสถานีตำรวจกว่า 1,500 แห่ง ตอนนี้กำลังมีการอบรมครูฝึกให้เรียบร้อยก่อนเพื่อที่จะไปฝึกต่อผู้ใช้งานตามพื้นที่ต่างๆ ให้มีการเข้าใจและสามารถใช้ระบบนี้ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังมีการนำระบบกล้องวงจรปิดที่นำมาบูรณาการลงเซิร์ฟเวอร์แล้วให้เซิร์ฟเวอร์เป็นคนสั่ง จะสามารถแจ้งและป้องกันได้ทันที


-ทุกวันนี้ ตำรวจไซเบอร์ มีความพร้อมเพียงใด

               เราก็มีการพัฒนาบุคลากร หลายหลักสูตรทั้งหลักสูตรก้าวหน้า หลักสูตรเพิ่มเติมความรู้ หลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ เช่น หลักสูตรการกู้ข้อมูลจากชิพของโทรศัพท์มือถือที่ตกน้ำไฟไหม้ไปแล้ว ให้นำข้อมูลกลับมา ผมไม่ขอบอกว่าทำอย่างไร แต่เป็นหลักสูตรระดับสูงที่มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกามาอบรมให้ ซึ่งอบรมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในการรวบรวมหลักฐาน สามารถนำชิพมากู้เพื่อว่ามีการติดต่อกับใครอย่างไร มีการส่งข้อความหาใครหรือไม่ รูปถ่าย เบอร์โทรเข้าโทรออก

               ส่วนการอบรมการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ การอบรมการใช้แผนที่ การใช้โปรแกรมจากเครื่องแมคฯ ตลอดจนการอบรมตรวจพิสูจน์หลักฐานทางเทคโนโลยี เราก็ต้องวิเคราะห์ว่าแต่ละเครื่องมีเครือข่ายไม่เหมือนกัน และต้องตรวจให้ได้ว่าภายในเครื่องนั้นมีหลักฐานอะไรอยู่ เราควรจะเก็บหลักฐานอย่างไร และสอนพนักงานสอบสวนการตรวจยึดหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างไรที่ไม่เป็นการไปทำลายหลักฐานในการดำเนินคดีได้ ว่าเป็นข้อมูลที่อยู่ก่อนการจับกุม เพื่อให้คนร้ายปฏิเสธไม่ได้ บางทีเขาตั้งอัตโนมัติไว้ใส่พาสเวิร์ดไม่กี่ตัวก็จะลบหมดเลย ก็ต้องนำมาแยกแยะโดยผู้เชี่ยวชาญอีกที กรณีดังกล่าวนี้ ไว้ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลการพนันออนไลน์ การเก็บรูปลามก เป็นต้น ทั้งนี้ ตำรวจไซเบอร์ ต้องมีทักษะ รู้ทุกอย่าง เพราะไอทีมันไปเร็ว คนที่ดูแลระบบ ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลาหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญมาคุยเพื่อหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจับผู้ร้ายในโลกไซเบอร์ให้ได้ เพื่อพลิกโฉมการทำงานของตำรวจไอทีให้ได้
..........
(หมายเหตุ : เขี้ยวเล็บ'ตำรวจไซเบอร์' รู้ทัน...โจรโซเชียลเน็ตเวิร์ก : สัมภาษณ์พิเศษ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผบช.สทส.โดยพัฐอร พิจารณ์โสภณ)
http://www.komchadluek.net/detail/
ขอขอบพระคุณข้อมูลข่าวภาพจากผู้มีชื่ออยู่ด้านบนนี้ทุกๆท่าน
รายงานข่าวโดย.....     (ดีโพลมา980)  จากทีมงาน                                                                 
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์  และ  dpmnews  และ dmnnews
และชมรมนักข่าว2000, และ ศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก
ชมรมนักข่าวช่วยสังคม   (ร่วมกันรายงานข่าว)
ข่าวนี้จะนำไปลงตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ของเราอีกครั้ง
นี่คือตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ยังมีข่าวอื่นๆอีกมากมาย
.....................................................................................
โดย...บ.ก.เกรียงไกร   พรเทพ (สื่อมวลชนหลายสถาบัน)
เจ้าของ และ บรรณาธิการ   น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์
(ควบคุมคอลัมน์) โทร.081 – 7713997
ผช.กรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”)ผู้ช่วยบ.ก.ดูแลข่าวตำรวจ                      
ปฐมภพ(นามปากกา "คนสายกลาง")ประสานงาน
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) ภาพ / คอมพิวเตอร์
กิตกวี (นามปากกา  “clover gens”)ข่าวทั่วไปและงานแถลงข่าว
Sujittra  srita  ดูแลข่าวบันเทิงและข่าวท่องเที่ยว
อีเมล์...diplomanews@gmail.com , dpm2554@gmail.com 
นอกจากข่าวนี้แล้วยังมีข่าวย้อนหลังให้ดูอีกมากมาย
ขอให้คลิกไล่ดูอาจจะอยู่ทางขวามือหรืออาจจะอยู่ทางซ้ายมือ
เรามีแว๊บไซ้ท์ในเครือและพันธมิตรอีกนับสิบๆแว๊บไซ้ท์
เรายังมีคอลัมน์ในสื่อต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก โดยพิมพ์ค้นหาคำว่า
“น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์” หรือพิมพ์ค้นหาคำว่า  “diplomanews”
และเรายังมีพันธมิตรที่เป็นสื่อมวลชนอีกหลายร้อยคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น