วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

กฎหมายที่น่ารู้ การนำสืบการใช้เงินกู้ (ดีโพลมา2477)

กฎหมายที่น่ารู้ การนำสืบการใช้เงินกู้ (ดีโพลมา2477)
ทนายคลายทุกข์ขอส่ง บทความที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง การนำสืบการใช้เงินกู้ 
มีท่านผู้อ่านซึ่งเป็นลูกหนี้ สอบถามมาเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินนอกระบบ ได้มีการชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้ไปแล้ว แต่เจ้าหนี้อ้างว่ายังไม่ได้ชำระ สอบถามว่าจะนำสืบการใช้เงิน หมายถึงต้นเงินที่กู้ยืมจากเจ้าหนี้ในชั้นศาล เมื่อถูกเจ้าหนี้ฟ้องจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ เพราะกฎหมายบังคับไว้ ถ้าจะนำสืบการใช้เงินในคดีเงินกู้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาล จึงจะรับฟังได้ว่าชำระหนี้ต้นเงินให้กับเจ้าหนี้แล้ว แต่ถ้าเป็นการนำสืบการใช้เงินอย่างอื่นของลูกหนี้ที่มิใช่เงินสด ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ได้ ดังตัวอย่างคดีความที่เคยขึ้นสู่ศาลข้างล่างนี้ 
1.ตักหน้าดินไปขายและนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2550 
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ใช้บังคับกับกรณีชำระหนี้ด้วยการใช้เงินเท่านั้น การนำสืบว่ามีการชำระเงินโดยยอมให้โจทก์ตักหน้าดินไปขายและนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นตามป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของบัญญัติดังกล่าว 
การมอบสมุดเงินฝากธนาคารและบัตร เอ.ที.เอ็ม ให้ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินฝากของผู้กู้เป็นการชำระหนี้เงินกู้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น 
2.มอบบัตรเอทีเอ็มให้ไปถอนเงิน 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6823/2551 
จำเลยนำสืบถึงการชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์ว่า จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก. ให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีของจำเลยทุกเดือน และโจทก์ยอมรับว่าได้รับบัตรเอทีเอ็มดังกล่าวไว้ถอนเงินจากบัญชีของจำเลย จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลให้ศาลเห็นถึงวิธีการชำระหนี้ว่าได้ปฏิบัติต่อกันเช่นใด ไม่อยู่ในบทบังคับเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง 
3.มอบฉันทะให้ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537 
จำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม โดยมอบฉันทะให้โจทก์ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเลยเมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ให้ผู้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเองเมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง 
4.นำเงินฝากเข้าบัญชีของลูกหนี้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2548 
การที่จำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมจากโจทก์เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้โดยไม่ได้นิติกรรมโดยตรงต่อโจทก์ ไม่อาจมีการกระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 321 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงนำสืบดังกล่าวได้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542 
การนำสืบว่า จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วกรณีมิใช่ เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จึงไม่ต้องห้าม มิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง 
5.การโอนที่ดินใช้หนี้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2510 
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนที่ดินให้เจ้าหนี้ เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่การชำระหนี้ด้วยเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321แม้จะมิได้มีหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 ศาลก็รับฟังพยานบุคคลที่นำสืบในเรื่องการชำระหนี้นั้นได้เมื่อโอนที่ดินชำระหนี้เงินกู้แล้วหนี้นั้นก็ระงับไป 
ผู้รับโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้เป็นสามีโจทก์ และในวันโอนนั้นโจทก์ได้รับรู้อยู่ด้วย จึงเป็นการแสดงว่าโจทก์ให้สามีรับชำระหนี้แทนและเป็นการให้สัตยาบันในการนี้ด้วยในตัว 
6.การชำระหนี้ด้วยเช็ค 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2518 
เช็คใช้หนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับและได้รับเงินตามเช็คแล้ว หนี้ก็ระงับจำเลยนำสืบการใช้เงินโดยพยานบุคคลได้ 
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ 
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว 
อยู่แบบพอเพียง ดีกว่าอยู่อย่างเป็นหนี้ 

ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างนี้ทุกๆท่าน
www.decha.com   
ถ่ายทอดโดย.....                                
ทีมงาน น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา2477) มีรายนามดังนี้....   
บ.ก.เกรียงไกร   พรเทพ ( บรรณาธิการ )
ผช.กรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยบ.ก.ดูแลข่าวตำรวจ 
และ รักษาการ หัวหน้าข่าวการเมือง
อภินันทร์(นามปากกา “อัจฉริยะ”)ปฐมภพ(นามว่า "คนสายกลาง")      
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) สุจิตรา  (นามปากกา “หญิงเหล็ก”) 
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.095 – 9970577)
ยินดีช่วยเหลือในด้านกฎหมายแก่คนจนฟรี!
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่งดังมีรายนามต่อไปนี้
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์  และ dpmnews - dmnnews - diplomanews
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก และ
ข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม..อีเมล์...diplomanews@gmail.com
ติดตามผลงาน“ชมรมนั่งสมาธิปกป้องสถาบันได้ใน FACEBOOK
เรามีแว๊บไซ้ท์ในเครือนับสิบๆแว๊บไซ้ท์และพันธมิตรสื่อฯอีกนับร้อย
เรายังมีคอลัมน์ในสื่อดังๆต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก โดยพิมพ์หาคำว่า
“น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์” หรือคำว่า  “diplomanews”ในสื่อนั้นๆ
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น