วิเคราะห์กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ซึ่งจะบังคับใช้เร็วๆ นี้(นี่คือคอลัมน์ดีที่จะแนะนำให้อ่าน)
15 มกราคม 2558 - 22:16:00
วิเคราะห์กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ซึ่งจะบังคับใช้เร็วๆ นี้(ดีโพลมา 15158 /ร่วมกับสื่อสยามข่าวมวลชน/ถ่ายทอด)
สวัสดีพี่น้องทนายคลายทุกข์ ทาง E-Magazine ทุกท่าน
ทนายคลายทุกข์ขอส่ง บทความที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง วิเคราะห์กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ซึ่งจะบังคับใช้เร็วๆ นี้
มีประชาชนเจ้าหนี้ลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบสอบถามมาเกี่ยวกับกฎหมายทวง หนี้ฉบับใหม่มีสาระสำคัญอะไร ผมในฐานะวิทยากรฝึกอบรมนักทวงหนี้ของสถาบันการเงินขอสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ผู้ให้สินเชื่อหมายถึงเจ้าหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบรวมทั้งเจ้าหนี้การพนัน และผู้รับมอบอำนาจที่ต้องอยู่ภายในบังคับของกฎหมายทวงหนี้ฉบับนี้ (มาตรา 3)
2. ลูกหนี้หมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้นและผู้ค้ำประกันด้วยที่เป็นบุคคลธรรมดา (มาตรา 3)
3. บุคคลที่จะทำธุรกิจเปิดบริษัทรับจ้างทวงหนี้จะต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน (มาตรา 5)
4. ทนายความถ้าจะประกอบธุรกิจทวงหนี้จะต้องขึ้นทะเบียนกับสภาทนายความ (มาตรา 5/1)
5. ข้อห้ามในการทวงหนี้ห้ามทวงหนี้กับบุคคลอื่นเว้นแต่ บุคคลซึ่งลูกหนี้แจ้งระบุไว้ให้กับเจ้าหนี้เท่านั้น (มาตรา 6 วรรคแรก)
6. การติดต่อกับบุคคลอื่นทำได้แค่สอบถามหรือยืนยันเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อ ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้ให้ทวงถามหนี้ได้เท่านั้น (มาตรา 6 วรรคสอง)
7. ข้อควรปฏิบัติในการสอบถามข้อมูลจากบุคคลอื่นเพื่อหาที่อยู่หรือหาตัวลูกหนี้ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งชื่อจริงนามสกุลจริงและแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูล
- ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้กับบุคคลอื่นเว้นแต่สามีภรรยาบุพการีผู้สืบสันดานของลูกหนี้
- ซองจดหมายต้องไม่มีข้อความหรือสัญลักษณ์ใดๆ ทำให้เข้าใจว่าเป็นจดหมายทวงหนี้
- ห้ามทำให้เข้าใจผิดหรืออำพรางตัวเองเพื่อหลอกล่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้
8. ข้อควรปฏิบัติในการทวงหนี้กับลูกหนี้ (มาตรา 7)
- สถานที่ติดต่อให้ติดต่อได้เฉพาะที่อยู่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้เท่านั้น ถ้าติดต่อไม่ได้และได้พยายามติดต่อแล้วให้ติดต่อสถานที่อื่นได้
- เวลาในการติดต่อจันทร์ – ศุกร์ 08.00-20.00 น. วันหยุดราชการ 08.00-18.00 น.
- จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้ต้องเหมาะสม
- การทวงถามหนี้ภาคสนาม (ทวงถามหนี้ต่อหน้า) ต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงหนี้
- การขอรับชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ต้องออกหลักฐานการชำระหนี้
9. ข้อห้ามในการทวงหนี้
- ข่มขู่
- ดูหมิ่น
- เปิดเผยหรือประจานลูกหนี้
- ทวงหนี้โดยเอกสารเปิดผนึก
- ซองจดหมายทวงหนี้ต้องไม่มีลักษณะเป็นการประจานลูกหนี้
- ไม่ใช่วิธีการที่ไม่เหมาะสมอื่น นอกเหนือจากข้างต้น
- ไม่ใช้ข้อความเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น แสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ทนาย ทำให้เชื่อว่าจะถูกยึดเงินเดือน หรืออ้างบริษัทข้อมูลเครดิต
- ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ (มาตรา 11 (1))
10. การกระทำที่ไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้ (มาตรา 11)
- เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่คณะกรรมการกำหนด เสนอหรือจูงใจให้ออกเช็คทั้งที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้
11. บทลงโทษทางปกครอง (มาตรา 24)
- สั่งให้ระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
- ถ้าไม่ปฏิบัติปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
12. บริษัททวงหนี้ถ้าฝ่าฝืนกฎหมายคณะกรรมมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียนได้ (มาตรา 27)
13. โทษทางอาญามีโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จนถึงไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 29 ถึง มาตรา 32/1)
ข้อดีข้อเสียของกฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่
1. ในส่วนของเจ้าหนี้
- ต้องปรับปรุงกระบวนการทวงหนี้ใหม่ทั้งหมด หากยังทำเหมือนเดิมคงต้องติดคุกกันหมด เพราะกฎหมายมีกฎกติกา รายละเอียดมากมาย
- การทวงหนี้ต้องมีมารยาทมากขึ้น ต้องใช้การเจรจาพูดจาภาษาดอกไม้เน้นการสร้างแรงจูงใจมากกว่าการข่มขู่
- ต้องมีการฝึกอบรมนักทวงหนี้ให้มีความเข้าในเกี่ยวกับกฎหมายฉบับใหม่ เพราะมีบทลงโทษที่รุนแรง รวมทั้งเจ้าหนี้หรือผู้บริหารอาจต้องรับผิดร่วมด้วย
- การทวงหนี้มีความยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากกดดันลูกหนี้ได้ไม่มากนักทำให้ โอกาสได้รับชำระหนี้คืนน้อยลง เจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินจะหันไปฟ้องศาลแทน ส่งผลให้พนักงานทวงหนี้อาจตกงาน
2. ในส่วนของลูกหนี้
- ไม่ถูกข่มขู่ กดดันมากเกินควร
- ไม่มีการประจานลูกหนี้ต่อไป
- มีโอกาสในการเจรจาหนี้มากขึ้น
- ลูกหนี้นอกระบบจะไม่ถูกทำร้ายร่างกายเหมือนในปัจจุบัน เพราะคนทวงหนี้ต้องขึ้นทะเบียนเปิดเผยตัวมากขึ้นทำให้ง่ายต่อการดำเนินคดี
- การขอสินเชื่อในระบบยากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินต้องพิจารณากระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่ จะเลือกปล่อยสินเชื่อเฉพาะลูกหนี้ที่มีฐานะทางการเงินดี ประวัติดีเท่านั้น โอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้จึงมีน้อยลง
- ลูกหนี้ที่ไม่สุจริตอาจอาศัยกฎหมายฉบับใหม่เป็นช่องทางในการเบี้ยวหนี้
- ลูกหนี้จะถูกดำเนินคดีในชั้นศาลมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินจะหันไปใช้วิธีการฟ้องศาลแทน
- ในส่วนของศาลก็คงจะต้องมีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อชะลอการฟ้อง เช่นการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทก่อนฟ้องเป็นต้น
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
ทนายคลายทุกข์ขอส่ง บทความที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง วิเคราะห์กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ซึ่งจะบังคับใช้เร็วๆ นี้
มีประชาชนเจ้าหนี้ลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบสอบถามมาเกี่ยวกับกฎหมายทวง หนี้ฉบับใหม่มีสาระสำคัญอะไร ผมในฐานะวิทยากรฝึกอบรมนักทวงหนี้ของสถาบันการเงินขอสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ผู้ให้สินเชื่อหมายถึงเจ้าหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบรวมทั้งเจ้าหนี้การพนัน และผู้รับมอบอำนาจที่ต้องอยู่ภายในบังคับของกฎหมายทวงหนี้ฉบับนี้ (มาตรา 3)
2. ลูกหนี้หมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้นและผู้ค้ำประกันด้วยที่เป็นบุคคลธรรมดา (มาตรา 3)
3. บุคคลที่จะทำธุรกิจเปิดบริษัทรับจ้างทวงหนี้จะต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน (มาตรา 5)
4. ทนายความถ้าจะประกอบธุรกิจทวงหนี้จะต้องขึ้นทะเบียนกับสภาทนายความ (มาตรา 5/1)
5. ข้อห้ามในการทวงหนี้ห้ามทวงหนี้กับบุคคลอื่นเว้นแต่ บุคคลซึ่งลูกหนี้แจ้งระบุไว้ให้กับเจ้าหนี้เท่านั้น (มาตรา 6 วรรคแรก)
6. การติดต่อกับบุคคลอื่นทำได้แค่สอบถามหรือยืนยันเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อ ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้ให้ทวงถามหนี้ได้เท่านั้น (มาตรา 6 วรรคสอง)
7. ข้อควรปฏิบัติในการสอบถามข้อมูลจากบุคคลอื่นเพื่อหาที่อยู่หรือหาตัวลูกหนี้ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งชื่อจริงนามสกุลจริงและแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูล
- ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้กับบุคคลอื่นเว้นแต่สามีภรรยาบุพการีผู้สืบสันดานของลูกหนี้
- ซองจดหมายต้องไม่มีข้อความหรือสัญลักษณ์ใดๆ ทำให้เข้าใจว่าเป็นจดหมายทวงหนี้
- ห้ามทำให้เข้าใจผิดหรืออำพรางตัวเองเพื่อหลอกล่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้
8. ข้อควรปฏิบัติในการทวงหนี้กับลูกหนี้ (มาตรา 7)
- สถานที่ติดต่อให้ติดต่อได้เฉพาะที่อยู่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้เท่านั้น ถ้าติดต่อไม่ได้และได้พยายามติดต่อแล้วให้ติดต่อสถานที่อื่นได้
- เวลาในการติดต่อจันทร์ – ศุกร์ 08.00-20.00 น. วันหยุดราชการ 08.00-18.00 น.
- จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้ต้องเหมาะสม
- การทวงถามหนี้ภาคสนาม (ทวงถามหนี้ต่อหน้า) ต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงหนี้
- การขอรับชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ต้องออกหลักฐานการชำระหนี้
9. ข้อห้ามในการทวงหนี้
- ข่มขู่
- ดูหมิ่น
- เปิดเผยหรือประจานลูกหนี้
- ทวงหนี้โดยเอกสารเปิดผนึก
- ซองจดหมายทวงหนี้ต้องไม่มีลักษณะเป็นการประจานลูกหนี้
- ไม่ใช่วิธีการที่ไม่เหมาะสมอื่น นอกเหนือจากข้างต้น
- ไม่ใช้ข้อความเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น แสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ทนาย ทำให้เชื่อว่าจะถูกยึดเงินเดือน หรืออ้างบริษัทข้อมูลเครดิต
- ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ (มาตรา 11 (1))
10. การกระทำที่ไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้ (มาตรา 11)
- เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่คณะกรรมการกำหนด เสนอหรือจูงใจให้ออกเช็คทั้งที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้
11. บทลงโทษทางปกครอง (มาตรา 24)
- สั่งให้ระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
- ถ้าไม่ปฏิบัติปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
12. บริษัททวงหนี้ถ้าฝ่าฝืนกฎหมายคณะกรรมมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียนได้ (มาตรา 27)
13. โทษทางอาญามีโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จนถึงไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 29 ถึง มาตรา 32/1)
ข้อดีข้อเสียของกฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่
1. ในส่วนของเจ้าหนี้
- ต้องปรับปรุงกระบวนการทวงหนี้ใหม่ทั้งหมด หากยังทำเหมือนเดิมคงต้องติดคุกกันหมด เพราะกฎหมายมีกฎกติกา รายละเอียดมากมาย
- การทวงหนี้ต้องมีมารยาทมากขึ้น ต้องใช้การเจรจาพูดจาภาษาดอกไม้เน้นการสร้างแรงจูงใจมากกว่าการข่มขู่
- ต้องมีการฝึกอบรมนักทวงหนี้ให้มีความเข้าในเกี่ยวกับกฎหมายฉบับใหม่ เพราะมีบทลงโทษที่รุนแรง รวมทั้งเจ้าหนี้หรือผู้บริหารอาจต้องรับผิดร่วมด้วย
- การทวงหนี้มีความยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากกดดันลูกหนี้ได้ไม่มากนักทำให้ โอกาสได้รับชำระหนี้คืนน้อยลง เจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินจะหันไปฟ้องศาลแทน ส่งผลให้พนักงานทวงหนี้อาจตกงาน
2. ในส่วนของลูกหนี้
- ไม่ถูกข่มขู่ กดดันมากเกินควร
- ไม่มีการประจานลูกหนี้ต่อไป
- มีโอกาสในการเจรจาหนี้มากขึ้น
- ลูกหนี้นอกระบบจะไม่ถูกทำร้ายร่างกายเหมือนในปัจจุบัน เพราะคนทวงหนี้ต้องขึ้นทะเบียนเปิดเผยตัวมากขึ้นทำให้ง่ายต่อการดำเนินคดี
- การขอสินเชื่อในระบบยากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินต้องพิจารณากระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่ จะเลือกปล่อยสินเชื่อเฉพาะลูกหนี้ที่มีฐานะทางการเงินดี ประวัติดีเท่านั้น โอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้จึงมีน้อยลง
- ลูกหนี้ที่ไม่สุจริตอาจอาศัยกฎหมายฉบับใหม่เป็นช่องทางในการเบี้ยวหนี้
- ลูกหนี้จะถูกดำเนินคดีในชั้นศาลมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินจะหันไปใช้วิธีการฟ้องศาลแทน
- ในส่วนของศาลก็คงจะต้องมีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อชะลอการฟ้อง เช่นการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทก่อนฟ้องเป็นต้น
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
ขอแนะนำคอลัมน์และรายการหรือคลิปที่น่าสนใจน่าอ่านและน่าชมซึ่งมีชื่ออยู่ด้านบนนี้
ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างและด้านบนนี้ทุกๆท่าน
www.decha.com
|
ถ่ายทอดโดย.....
ทีมงาน น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา 15158 /ร่วมกับสื่อสยามข่าวมวลชน/ถ่ายทอด)
ดังมีรายนามดังนี้.... บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ(บรรณาธิการดีโพลมานิวส์และฯลฯ)
รองฯกรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) รองฯบ.ก.ดีโพลมานิวส์(ดูแลข่าวตำรวจ)
นามปากกา “เดอะกะตะ”(บ.ก.สื่อสยามข่าวมวลชน) จตุพล (บ.ก.บริหาร 3 สื่อ)
บุญรุ่ง พวงทอง(คนเดลิมิเร่อร์) ผู้ช่วย บ.ก.(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์)
สุจิตรา(นามปากกา “หญิงเหล็ก”) ปฐมภพ(นามปากกา "คนสายกลาง")
ยังมีรายชื่อผู้สื่อข่าวทั่วประเทศอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ต้องการให้ประกาศชื่อ
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.099-2612588 หรือ 086 - 7928056
ข่าวที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่งดังมีรายนามต่อไปนี้
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ และ dpmnews - dmnnews - diplomanews
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก และ
ข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม..อีเมล์...diplomanews@gmail.com
ข่าวชมรมนั่งสมาธิปกป้องสถาบัน,และ “สื่อสยามข่าวมวลชน”
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน
วันใดที่เราไม่ได้ทำข่าวแสดงว่าวันนั้นทีมงานของเราได้เดินทางไปต่างแดน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น