ความรับผิดฐานแจ้งความเท็จ (เว๊บไซ้ท์ดีที่เราขอชมเชย)
ในยุคปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่กลัวบาปกลัวกรรม ชอบโกหกแต่งเรื่องหลอกลวงชาวบ้านหรือสร้างความปั่นป่วนขึ้นในบ้านเมือง รวมทั้งให้ร้ายผู้อื่นทั้งที่ตัวเองเป็นผู้กระทำความผิด สังคมไทยในยุคปัจจุบันจึงมีคนที่ชอบโกหกเป็นจำนวนมาก และมองว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร เพราะใครๆก็ทำกันทั้งนั้น โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการส่งต่อข้อความเท็จทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ตัวเองก็รู้อยู่แล้วว่าไม่เป็นความจริง แต่ก็ยังส่งต่อเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคลอื่นเป็นวงกว้าง ทนายคลายทุกข์จึงขอนำข้อกฎหมายเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ และความรับผิดของผู้ที่กระทำความผิดมานำเสนอต่อผู้อ่านคอลัมน์ดังนี้
1.ความหมายของการแจ้งความเท็จ หมายถึง การแจ้งข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากความจริง การแจ้งข้อกฎหมายผิดไปจากความจริงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ การแจ้งข้อเท็จจริงที่ตัวเองพบเห็นมาตามความเป็นจริงต่อพนักงานสอบสวนไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2465/2555, 1173/2539, 3107/2516, 5600/2541)
ตัวอย่างคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์ จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์ จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
2.การแจ้งความเท็จต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่ามีอยู่จริง ถ้าเป็นเพียงแจ้งไปตามคำบอกเล่าของผู้อื่นหรือการคาดคะเนหรือเป็นเพียงความเชื่อของตนเองไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง ผู้แจ้งไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2550/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2529
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าการที่จำเลยไปแจ้งว่าชายคนที่ไปร้านของจำเลยคือโจทก์นั้นก็เป็นการแจ้งไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้านโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าเด็กในร้านมิได้บอกกับจำเลยเช่นนั้นอันจะทำให้เห็นว่าข้อที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จเมื่อฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นเท็จแล้วการแจ้งความของจำเลยก็ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137
3.ผู้ต้องหาจะให้การต่อพนักงานสอบสวนอย่างไรก็ได้ หรือจะไม่ให้การเลยก็ได้ คำให้การของผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวนที่เป็นเท็จ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 225/ 2508, 1093/2522, 4048/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลังหนึ่งเลยแล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่งว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
4.คู่สมรสแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าตัวเองเป็นโสด เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรส เช่น การขายที่ดิน การจดจำนอง ทั้งที่ตัวเองมีคู่สมรสอยู่แล้ว การกระทำดังกล่าวย่อมทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายได้รับความเสียหาย เพราะต้องสูญเสียสินสมรสไปโดยที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 8739/2522)
5.มีคู่สมรสอยู่แล้วแต่ไปแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนว่ายังไม่ได้สมรส ซึ่งเป็นความเท็จทำให้อีกฝ่ายหลงเชื่อจึงยอมสมรสด้วย การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2614/2518, 2052/2530)
6.คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ไม่ได้สูญหายแต่อยู่กับบุคคลอื่น แต่กลับไปแจ้งความว่าเอกสารหายเพื่อให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้ใหม่ การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 3162/2540)
ความลับไม่มีในโลก วันหนึ่งคนอื่นก็ต้องรู้ว่าเราโกหกและสุดท้ายคนโกหกก็จะต้องถูกลงโทษ ทางที่ดีเป็นคน คิดดี พูดดี ทำดี จะดีกว่านะครับ
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
1.ความหมายของการแจ้งความเท็จ หมายถึง การแจ้งข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากความจริง การแจ้งข้อกฎหมายผิดไปจากความจริงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ การแจ้งข้อเท็จจริงที่ตัวเองพบเห็นมาตามความเป็นจริงต่อพนักงานสอบสวนไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2465/2555, 1173/2539, 3107/2516, 5600/2541)
ตัวอย่างคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์ จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์ จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
2.การแจ้งความเท็จต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่ามีอยู่จริง ถ้าเป็นเพียงแจ้งไปตามคำบอกเล่าของผู้อื่นหรือการคาดคะเนหรือเป็นเพียงความเชื่อของตนเองไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง ผู้แจ้งไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2550/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2529
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าการที่จำเลยไปแจ้งว่าชายคนที่ไปร้านของจำเลยคือโจทก์นั้นก็เป็นการแจ้งไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้านโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าเด็กในร้านมิได้บอกกับจำเลยเช่นนั้นอันจะทำให้เห็นว่าข้อที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จเมื่อฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นเท็จแล้วการแจ้งความของจำเลยก็ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137
3.ผู้ต้องหาจะให้การต่อพนักงานสอบสวนอย่างไรก็ได้ หรือจะไม่ให้การเลยก็ได้ คำให้การของผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวนที่เป็นเท็จ ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 225/ 2508, 1093/2522, 4048/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลังหนึ่งเลยแล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่งว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
4.คู่สมรสแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าตัวเองเป็นโสด เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรส เช่น การขายที่ดิน การจดจำนอง ทั้งที่ตัวเองมีคู่สมรสอยู่แล้ว การกระทำดังกล่าวย่อมทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายได้รับความเสียหาย เพราะต้องสูญเสียสินสมรสไปโดยที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 8739/2522)
5.มีคู่สมรสอยู่แล้วแต่ไปแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนว่ายังไม่ได้สมรส ซึ่งเป็นความเท็จทำให้อีกฝ่ายหลงเชื่อจึงยอมสมรสด้วย การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2614/2518, 2052/2530)
6.คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ไม่ได้สูญหายแต่อยู่กับบุคคลอื่น แต่กลับไปแจ้งความว่าเอกสารหายเพื่อให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้ใหม่ การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 3162/2540)
ความลับไม่มีในโลก วันหนึ่งคนอื่นก็ต้องรู้ว่าเราโกหกและสุดท้ายคนโกหกก็จะต้องถูกลงโทษ ทางที่ดีเป็นคน คิดดี พูดดี ทำดี จะดีกว่านะครับ
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
/////////////////////////////////////////////
ขอแนะนำคอลัมน์ดี/คลิปดี (เว๊บไซ้ท์ดีที่เราขอชมเชย)
ซึ่งมีชื่ออยู่ในคลิปหรือข่าวที่อยู่ด้านบนนี้และ
ขอชมเชยและขอแนะนำเว๊บไซ้ท์ดีที่มาของข่าว/ภาพ
จากเว๊บที่มีชื่อด้านล่างนี้ที่เราได้ไปค้นพบมาให้ท่านชม
เดชา กิตติวิทยานันท์ ผ่าน decha.com
ทีมงานน.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา 18758 )ถ่ายทอด
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ดังมีรายนามดังนี้.... บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ
(พี่เทพ) (บรรณาธิการและหัวหน้ากองบรรณาธิการ)
นามปากกา “เดอะกะตะ”(บ.ก.สื่อสยามข่าวมวลชน)
จตุพล (บ.ก.บริหาร 3 สื่อ) บุญรุ่ง พวงทอง
(คนเดลิมิเร่อร์) ผู้ช่วย บ.ก.
บรรทิศ คนเมืองคอน(ผู้ช่วย บ.ก.ดีโพลมานิวส์)
สุจิตรา(นามปากกา “หญิงเหล็ก”)
ปฐมภพ(นามปากกา "คนสายกลาง")
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ
(ที่ปรึกษากฎหมาย)ไม่มีเงินจ้างทนายเราช่วยได้
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี!)
เสริมสุข ขวัญปัญญา(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ)
นงลักษณ์ สุขจิรัง(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ)
โทร.099-2612588 หรือ 086 – 7928056)
ข่าวที่เห็นอยู่นี้เป็นตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่ง
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน
คอลัมนิสต์ นามปากกา “คนพิเศษ”
(ผู้ตรวจข่าวฉบับที่1.)
รองฯ กรรณชัย (นามปากกา”ผู้กองแอ๊ด”)
รอง บ.ก. ดูแลข่าวตำรวจ
(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น