ข่าวท่องเที่ยว/ข่าวบันเทิง/ข่าวประชาสัมพันธ์
(ผักบุ้ง...รายงาน)(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์...ถ่ายทอด)ประจำวันที่…1 ส.ค. 2559
"พงษ์ภาณุ ดึงโปเกมอนโก
หมายปั้นมือท่องเที่ยวดิจิตอลมั่นใจภาคท่องเที่ยวเป็นพระเอกไตรมาสสุดท้าย"
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา เปิดเผยว่า
เทคโนโลยีไอที มีบทบาทใน ชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวเองก็มี
การใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับคนทั่วโลกสามารถตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศต่างๆ
ปัจจุบันนี้จะเห็นว่ามี นักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็นประภท FIT
(Foreign Individual Tourism) ซึ่งจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ เดินทางเข้ามาโดยใช้
สมาร์ทโฟนและค้นหาแหล่ง ท่องเที่ยวด้วยตัวเอง
ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯได้จับมือกับกระทรวง ICT เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม
การท่องเที่ยวยุคใหม่โดยมี การเตรียมความพร้อมใน การพัฒนาด้านเทคโนโลยี
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตตลอดจนแอพลิเคชั่นต่างๆเพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาท่องเที่ยวประเทศไทย มากยิ่งขึ้น
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย
ไตรมาส 3 ปี 2559
“Culinary
trail ท่องเที่ยวด้านอาหารไทยแตะ 5 แสนล้านบาท”
นางกอบกาญจน์
วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กล่าวในการแถลงข่าว
รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 4 ในส่วนของสรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสที่
2 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 3 ปี 2559และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยมีสาระสำคัญดังนี้
สถานการณ์ท่องเที่ยวของไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2559มีรายได้รวมจากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น
571,681.93ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.89 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวน
7,553,011 คน ขยายตัวร้อยละ 8.23 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และก่อให้เกิดรายได้ 362,933.27 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ
13.20จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวจีน ขยายตัวร้อยละ 13.38นักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรป
ขยายตัวร้อยละ 10.67และนักท่องเที่ยวอาเซียนขยายตัว 6.34 สำหรับสถานการณ์ที่น่าสนใจ
เช่น การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีนหลังเทศกาลสงกรานต์และก่อนเข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียนในไตรมาส ที่ 3การแข่งขันฟุตบอลแห่งชาติยุโรปส่งผลให้นักท่องเที่ยวยุโรปบางประเทศชะลอตัวในเดือนมิถุนายนขณะที่นักท่องเที่ยวสำคัญอื่น
ๆ เช่น รัสเซีย อเมริกา อินเดีย ยังคงเติบโตดี
การท่องเที่ยวภายในประเทศมีจำนวน37
ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 3.00 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และสร้างรายได้แก่ประเทศ 208,748.66 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.65
จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาสำหรับสถานการณ์ที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยวใน
7 เมืองหลัก (กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และสงขลา)
สร้างรายได้ 122,895.71 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.25 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวใน
12 เมือง ต้องห้าม...พลาด สร้างรายได้ 17,787.08 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.27
จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และการท่องเที่ยวใน 12 เมือง ต้องห้าม...พลาด
พลัส สร้างรายได้ 15,308.51 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.85 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมานอกจากนี้
การขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 เป็นผลจากการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
และการเพิ่มวันหยุดต่อเนื่องพิเศษในเดือนพฤษภาคม
สถานการณ์ท่องเที่ยวจากต้นปีถึงปัจจุบัน
(31 กรกฎาคม 2559)มีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น
1,396,973.71ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.95 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 972,346.26
ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.26 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย
424,627.45 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.00 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว
ไตรมาสที่ 3 ปี 2559(ก.ค.-ก.ย.) คาดว่ามีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น
597,018.72 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
393,599.15 ล้านบาท และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย
203,419.57 ล้านบาท โดยมีปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ คือ กระแสการท่องเที่ยวตามโครงการ
12 เมือง ต้องห้าม...พลาด + พลัส การเพิ่มวันหยุดพิเศษต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล
(low
season) และวันหยุดต่อเนื่องในเดือนสิงหาคมนอกจากนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้น คาดว่าในช่วง 9 เดือนของปีนี้ภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสร้างรายได้
1,220,239.92ล้านบาท และการท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวไทยสร้างรายได้ 628,047.02
ล้านบาทรวมรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น
1,848,286.94 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 77 ของเป้าหมายรายได้ในปี 2559 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2559มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
33 ล้านคน
สำหรับประเด็นด้านการท่องเที่ยวที่ควรคำนึงถึง
เช่น กระแสการท่องเที่ยว
“12 เมืองต้องห้าม...พลาดพลัส”การเพิ่มวันหยุดต่อเนื่องพิเศษในเดือนพฤษภาคม
ที่การท่องเที่ยวภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าปกติร้อยละ
5กระแสอนุรักษ์และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเริ่มมีผลเป็นรูปธรรมที่พักขนาดเล็กเติบโตสัมพันธ์กับการขยายของเศรษฐกิจแบ่งปันและเทคโนโลยีการตลาดการเปิดให้บริการของสายการบิน
Low
Cost ระยะไกลมาไทยราคาตั๋วเครื่องบินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้นการตลาดบน
Digital Platform
ด้านบริการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นการดูแลภาพลักษณ์คนไทยในสายตาลูกค้าหลักเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการลงทุนภาคการท่องเที่ยวใน
CLMV ควรได้รับการส่งเสริมต่อเนื่องและการใช้ประโยชน์จากแคมเปญ
Visit Asean@50
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กล่าวต่อถึงแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม และการเชื่อมโยงรายได้สู่ระดับชุมชนและภาคเกษตร
โดยมีประเด็นที่สำคัญ
ดังนี้
ความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
(Food/Gastronomic Tourism) เนื่องจากอาหารเป็นตัวแทนในการนำเสนอสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง
ๆ เป็นการแสดงออกว่ามาถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นจริง ๆและการรับประทานอาหารพื้นถิ่นเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
นอกจากนี้ อาหารยังเป็นสื่อในการจูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวผ่านการแชร์ในสื่อออนไลน์
สถานการณ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารของโลกจากรายงานของ
UNWTO
ในปี 2558 การท่องเที่ยวเชิงอาหารสร้างรายได้รวม 150,000
ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเชิงอาหารมากที่สุด 4 อันดับแรก
ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษตามลำดับ นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญ คือ
การเยี่ยมชมไร่องุ่น/ชิมไวน์ การเรียนทำอาหาร และการซื้อรายการท่องเที่ยวอาหาร
สถานการณ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยในปี 2558 มีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอาหารรวม 456,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20
ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 282,000
ล้านบาท (นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้จ่ายด้านอาหารสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่
จีน อังกฤษ รัสเซีย)และเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวไทย 174,000 ล้านบาท
สินค้าท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยสินค้าท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยมีหลากหลายและเชื่อมโยงสู่ชุมชนและธุรกิจอื่น
ๆ โดยสินค้าสำคัญอันดับแรก คือ อาหาร เนื่องจากอาหารไทยหลายชนิดเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมติดอันดับโลกเช่น
ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย ผัดกะเพรา
แกงเผ็ดเป็ดย่าง ต้มข่าไก่ ยำเนื้อ หมูสะเต๊ะ ไก่ผัดเม็ดมะม่วง และพะแนงเนื้อ เป็นต้น
นอกจากนี้ การท่องเที่ยวอาหารยังกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น จากการที่นักท่องเที่ยวได้ทานอาหารแล้วติดใจซื้อกลับไปรับประทานและเป็นของฝาก
ซึ่งมีจำหน่ายทุกจังหวัดทั่วประเทศ เชื่อมโยงสู่โรงเรียนสอนทำอาหารนักท่องเที่ยวที่ชอบอาหารไทย
อยากเรียนรู้ทำอาหารไทย เพื่อให้สามารถทำอาหารเองได้เมื่อกลับประเทศโรงเรียนสอนทำอาหารจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่
ซึ่งสร้างรายได้ปีละ 590 ล้านบาท การท่องเที่ยวเชิงอาหารกระจายรายได้สู่ภาคเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น อาหารใช้ผลผลิตการเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก
การเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้และแปรรูปผลผลิตการเกษตรในฟาร์ม เป็นต้น สินค้าของที่ระลึกเกี่ยวกับอาหาร
อาทิเครื่องเทศ/เครื่องปรุง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป/ผลไม้
เป็นต้น
งานเทศกาลอาหารของต่างประเทศและของไทยงานเทศกาลอาหารเป็น
1 ใน 5 กิจกรรม ที่นักท่องเที่ยวเชิงอาหารเข้าร่วม
โดยงานเทศกาลอาหารในต่างประเทศมีจัดขึ้นทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น
งานเทศกาลอาหาร/ไวน์ งานเทศกาลอาหารท้องถิ่น งานเทศกาลอาหาร Street Food เป็นต้น สำหรับงานเทศกาลอาหารในประเทศไทยมีจัดขึ้นทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
เช่น งานเทศกาลอาหารถิ่นประเทศไทย จังหวัดชลบุรี งานเทศกาลผลไม้จันทบุรี
และที่สำคัญ คือ งานเทศกาลอาหารไทยในต่างประเทศ เช่น งานเทศกาลอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น
เป็นต้น
การแนะนำอาหารไทยโดยคนดังมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารและร้านอาหารที่น่าสนใจในประเทศไทย
โดยเฉพาะที่เป็นชาวต่างชาติ สำหรับผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการแนะนำอาหารไทย เช่น เจมี่
โอลิเวอร์ พ่อครัวหนุ่มชาวอังกฤษที่รณรงค์ให้โรงเรียนต่าง ๆ
ในอังกฤษเปลี่ยนการบริการอาหารขยะในโรงเรียนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพแทน เช่น แกงไก่ของไทย
เป็นต้น มารค์ วีนส์ Food
Bloggerชาวอเมริกันที่เดินทางท่องเที่ยวและชิมอาหารทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารที่ลงลึกทุกรายละเอียดและชิมอาหารกว่า 5,000 แห่ง ทั่วโลก
การสื่อสารออนไลน์กับการท่องเที่ยวเชิงอาหารการสื่อสารออนไลน์มีความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
เช่น การค้นหาร้านอาหารแนะนำ การค้นหาเส้นทางการ Share ผ่าน Instagram
การ Check in ใน Facebook รวมถึง การโปรโมตร้านผ่านเว็บไซต์รีวิวอาหารต่าง ๆ และ Facebook
โอกาสและข้อจำกัดของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทย
·
ไทยมีต้นทุนเป็นที่รู้จักของโลกในด้านการเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตร
·
การส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์สอดคล้องกับกระแสสนใจอาหารเพื่อสุขภาพ
·
ขาดการส่งเสริมร้านอาหารให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จัก
·
ขาดการเชื่อมโยงให้เป็นมูลค่าและความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแง่การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว
·
จัดงานเทศกาลอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ
·
ศึกษาและวางระบบส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับโครงการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก
·
ส่งเสริมการเชื่อมโยงอาหารไทยสู่ ASEAN
Culinary
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
รมว.ท่องเที่ยว
ชูยุทธศาสตร์กระจายตัวของ นทท.รุกเจาะกลุ่มยุโรป ตะวันออกกลาง และอาเซียน ชี้
"ออสเตรเลีย -นิวซีแลนด์" แนวโน้มสดใส สนใจ Wedding Destination ที่หัวหิน
เชียงใหม่เพิ่ม ชวน "CheerThai"
สู้ริโอเกมส์ 2016 ผ่านโซเชียลมีเดีย
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า
ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไทยชูยุทธศาสตร์มุ่งเน้นให้เกิดการกระจายตัวของกลุ่มนักท่องเที่ยว
ตลาดใหญ่ไม่ได้พึ่งเพียงจีนเท่านั้น แต่ได้ให้ความสำคัญและเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว
สร้างความร่วมมือในระดับนโนบายเพื่อการเพิ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพในทุกตลาดทั้งยุโรป
ตะวันออกกลาง และอาเซียน รวมทั้งไทยเที่ยวไทย แนวโน้มข่าวดีล่าสุด เช่น
การหารือกับเวียดนามซึ่งเป็นการหารือความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและกีฬา กับ รมว.
วัฒนธรรม ฯ เวียดนาม
พบว่าไทยกับเวียดนามมีความสนใจที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ASEAN
Connect ในรูปแบบ "2 countries 1 destination" ร่วมกัน มีการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเมืองใหม่ๆ เช่น หัวหิน ฟูก๊วก เว้
เพื่อกระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองรองส่งเสริมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว (Sports
Tourism) โดยจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
ในรูปแบบดิจิตอล เชื่อมโยง Tourism Gateway ของสองประเทศเข้าด้วยกัน ในมิติของการพัฒนาบุคคลากร ด้านการท่องเที่ยว
จะสนับสนุนให้เกิดการฝึกอบรมบุคลากรวิชาชีพ (On the job training) และด้านกีฬาได้มีการแลกเปลี่ยนผู้ฝึกสอนมหาวิทยาลัยกีฬา
พบปะหารือกันมากขี้น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามเป้าหมายร่วมกัน
ส่วนในตลาดนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านกีฬาหลายประเภท
โดยตลาดอังกฤษสนใจที่จะให้ความร่วมมือ สนับสนุนบุคลากร
ในการวางรากฐานมหาวิทยาลัยกีฬา
เชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวแบบ Sports Tourism มาวิ่งมาราธอน
ว่ายน้ำไตรกีฬาเป็นต้น ส่วนประเทศ อิหร่าน
วันนี้ไทยได้มีการแลกเปลี่ยน นักท่องเที่ยวมากขึ้น
โดยจะเพิ่มสายการบินเที่ยวบินตรง สำหรับ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จะมีการส่งเสริมเรื่อง Wedding
Destination ให้มาจัดงานแต่งงานที่ใหม่ๆ เช่น หัวหิน เชียงใหม่ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ซึ่งกลุ่มออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ให้ความสนใจที่จะมาจัดงานแต่งงานที่ไทยกันมากขึ้น
นางกอบกาญจน์
กล่าวว่า ตลาดยุโรปเติบโตต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวจีนปรับตัวสู่แนวโน้มปกติโดยเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงฤดูกาล
การส่งเสริมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว (Sports Tourism) ได้รับการตอบรับจากตลาดนานาชาติในวันนี้
สำหรับมิติด้านกีฬา นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า
ผลงานด้านกีฬาของไทยเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายกีฬาไทย เป็นที่ 1 ในอาเซียนถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
กับการจัดการแข่งขัน กีฬาโรงเรียนแห่งอาเซียน ASEAN School Games ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่
ระหว่างวันที่ 21-29 กรกฎาคม 2559
ตามยุทธศาสตร์ กีฬาเพื่อคนทั้งมวล และกีฬาเพื่อความสามัคคี
โดยนักกีฬานักเรียนไทยครองความเป็นจ้าวเหรียญทอง 56
เหรียญทอง ตามมาด้วย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
30 และ 19 เหรียญทองตามลำดับ
มีคนมาร่วมงานกว่า 1600 คน
และ จากการพบปะทวิภาคีกับรัฐมนตรีประเทศต่างๆ ที่มาร่วมแข่งขัน
ต่างก็ให้ความสนใจที่ไทยจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาขึ้น และยังเรื่องน่ายินดีที่ คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์
ณ ประเทศมาเลเซีย ได้บรรจุกีฬามวยไทยเอาไว้ในการแข่งขันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนการเตรียมความพร้อมสู่โอลิมปิค นั้น
การกีฬาแห่งประเทศไทย และผู้ให้การสนับสนุนได้เปิดไทยเฮาส์ขึ้นที่เมืองริโอ เดอ
จาเนโร โดยมีผู้ดูแลนักกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา โภชนาการอาหาร
และด้านจิตวิทยาเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย
และจิตใจให้กับนักกีฬาไทยอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ กกท. ร่วมกับ บมจ.อสมท และบริษัท พันธมิตร
จัดแคมเปญ ระดับชาติ "เชียร์ไทยสุดใจ"
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 31 “รีโอเกมส์ 2016” เพื่อเป็นสื่อกลางให้ชาวไทยได้มีโอกาสส่งแรงเชียร์ แรงใจ
ให้กับเหล่าฮีโร่ทีมชาติไทย ผ่านทางสื่อออนไลน์ www.facebook.com/เชียร์ไทยสุดใจ และโซเชียลมีเดีย ทุกแพลตฟอร์มผ่าน CheerThai ดูรายละเอียดได้ทาง www.cheerthai.in.th โดยทุกข้อความ
ทุกแรงใจจากประชาชนชาวไทย ที่ส่งผ่านแคมเปญนี้
จะส่งต่อให้กับนักกีฬาทีมชาติไทยไปที่ไทยเฮาส์
จึงขอเชิญชวนคนไทยร่วมส่งแรงใจให้นักกีฬาไทย คว้าชัยใน "รีโอเกมส์ 2016"
ครั้งนี้กันด้วย
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
เครือข่ายพันธมิตร
เคลื่อนนโยบาย รพ.ส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล
มุ่งการใช้ยาอย่างพอเพียง
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
คณะกรรมการกำกับทิศแผนงานวิจัยพัฒนาระบบยา โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาสู่โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
พ.ศ.2559 ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 2559
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวในการแถลงข่าวการพัฒนาสู่โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
พ.ศ.2559
ว่า กระทรวงสาธารณสุข
ได้ประกาศนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ให้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการ โดยนำโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนจัดระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) กำหนดเป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
สาขาที่ 15 เน้นการพัฒนาระบบและการตระหนักรู้ของทุกคนที่อยู่ในวงจรการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
และได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลขึ้น นอกจากนี้
กระทรวงฯ ได้กำหนดเป็นคำรับรองในการปฏิบัติราชการเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สำหรับผู้ตรวจราชการ ในปีงบประมาณ 2560 ด้วย
นพ.บุญชัย กล่าวด้วยว่า
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มุ่งหวังให้โรงพยาบาลในโครงการ
โรงพยาบาลและหน่วยงานที่สนใจ ได้รับทราบนโยบาย และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พัฒนาเครือข่ายการทำงานและกำหนดทิศทางการดำเนินการร่วมกัน โดยคาดหวังว่าทุกโรงพยาบาลจะนำรูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลอย่างสมเหตุผล
ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ต่อไป โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์แพทย์ศาสตร์ชั้นคลินิก
ซึ่งจำเป็นต้องสร้างสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาแพทย์ได้คุ้นเคยกับระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ก่อนจะจบการศึกษาออกไปดูแลประชาชนต่อไป
ศ.นพ.ประสิทธิ์
วัฒนาภา ประธานอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กล่าว องคการอนามัยโลก รายงานวา มากกวาร้อยละ 50 ของการใชยาเปนไปอยางไมสมเหตุผล ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเสี่ยงจากผลข้างเคียงและอันตรายจากยาเพิ่มขึ้น
รวมถึงปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก นโยบายแห่งชาติด้านยา
พ.ศ.2554 ได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้มอบหมายคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลรับผิดชอบดำเนินการ
คณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับ 11 องค์กร จึงได้จัดตั้งโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือ
Rational Drug Use – RDU Hospital ขึ้น
“อย่างไรก็ตาม
การดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลมีการทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ทั้งส่วนบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน คณะอนุกรรมการฯ จึงได้ดำเนินการ ทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนของวิชาชีพด้านสุขภาพ
การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน การสร้างความร่วมมือภาคเอกชนในการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติ”
ศ.นพ.ประสิทธิ์
กล่าว
ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
กล่าวว่า
โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU hospital) เป็นการบูรณาการมาตรการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล
ตามนโยบายแห่งชาติด้านยาและแนวทางขององค์การอนามัยโลกไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้บริบทปัญหาของประเทศไทย
ที่ผ่านมา สวรส.ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
โดยสนับสนุนชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ
กลไก และเครื่องมือ โดยใช้กุญแจ
PLEASE
เป็นกุญแจสำคัญเพื่อความสำเร็จ
ในการดำเนินการไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มุ่งหวังให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ
เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน
205
แห่ง ที่พร้อมนำแนวทางและข้อมูลความรู้ที่ได้จากโครงการฯ
ไปบูรณาการให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ตลอดจนมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ
การจัดทำฉลากยามาตรฐาน ฉลากยาเสริม ใน 13 กลุ่มยานำร่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอสำหรับการใช้ยาได้อย่างปลอดภัย” ภญ.พรพิศ
กล่าว
//////////////////////////////
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
แผนงานวิจัยพัฒนาระบบยา
หน่วยสื่อสารความรู้
O น.ส.ฐิติมา
นวชินกุล โทร 02 832
9245, 081 686 4147, thitima@hsri.or.th
O นายศุภฑิต สนธินุช โทร 02
832 9246, 089 050 1165,
supadit@hsri.or.th
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
กำหนดการ
พิธีเปิดตัวสินค้า OTOP เพื่อจำหน่ายบนเครื่องบิน
และ
ลงนามบันทึกข้อตกลงของความร่วมมือด้านการพัฒนาสินค้า
OTOP เพื่อจำหน่ายบนเครื่องบิน
วันพุธที่ ๓ สิงหาคม
๒๕๕๙
ณ ประตู ๑ ชั้น
๔ อาคารผู้โดยสารขาออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
๑๓.๐๐
น.
|
-
|
สื่อมวลชนลงทะเบียน
/ รับข่าวประชาสัมพันธ์
|
|
-
|
ชมนิทรรศการต่าง
ๆ ภายในงานฯ อาทิ เครื่องประดับ
ผ้าไทย สมุนไพร ศิลปะประดิษฐ์
|
๑๔.๑๐
น.
|
-
|
ชมวีดีทัศน์การนำเสนอความเป็นมาของสินค้า OTOP เพื่อจำหน่ายบนเครื่องบิน
|
๑๔.๑๕
น.
|
-
|
การแสดงเปิดงานฯ
ชุด “หนุมานจับนางฟ้าผ้าไทย”
โดยหุ่นละครเล็กโจหลุยส์
|
|
-
|
การแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไทยโดยนางแบบแอร์โฮสเตสการบินไทย
|
๑๔.๒๐
น.
|
-
|
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
กล่าวรายงาน
|
|
-
|
นายจรัมพร โชติกเสถียร
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท
การบินไทย จำกัด (มหาชน)
กล่าวรายงานแนวทางการสนับสนุนสินค้า
OTOP เพื่อจำหน่ายบนเครื่องบิน
|
๑๔.๔๐
น.
|
-
|
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
กล่าวเปิดงาน
“OTOP ไทยจากท้องถิ่น บินสู่ท้องฟ้า”
|
๑๔.๕๐ น.
|
-
|
พิธีลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาสินค้า OTOP เพื่อจำหน่ายบนเครื่องบิน ๖ หน่วยงาน
• กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
•
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
•
บริษัท ไทยแลนด์ มอลล์ (ประเทศไทย)
•
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
•
บริษัท คิง พาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด
•
กระทรวงพาณิชย์
•
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด
(มหาชน)
|
|
-
|
ถ่ายภาพร่วมกัน
|
๑๕.๐๐ น.
|
-
|
นายกรัฐมนตรี และแขกผู้มีเกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการภายในงานฯ
|
---------------------------------
*หมายเหตุ : แต่งกายผ้าไทย
/////////////////////////////////////////////////////////////
ทีมงานน.ส.พ.ดีโพลมานิวส์.....ถ่ายทอด.....
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร.....
ดังมีรายนามผู้บริหารดังนี้…. บ.ก.เกรียงไกร
พรเทพ.....
(พี่เทพ)
(บรรณาธิการและหัวหน้ากองบรรณาธิการ).....
อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และห.น.ศูนย์วิทยุน.ส.พ.ดาวสยาม...
อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และห.น.ศูนย์วิทยุน.ส.พ.ดาวสยาม...
จตุพล (บ.ก.บริหาร 3 สื่อ) บุญรุ่ง พวงทอง.....
(อดีตคนเดลิมิเร่อร์)
สุพรรณษา แซ่อั๊ง(นามปากกา"ผักบุ้ง).....
สุพัฒน์กฤต(ป้อม)
เจ้าของสื่อหลายฉบับ ที่ปรึกษา บ.ก......
บรรทิศ คนเมืองคอน(ผู้ช่วย บ.ก.ดีโพลมานิวส์).....
สุจิตรา(นามปากกา “หญิงเหล็ก”).....
ปฐมภพ(นามปากกา “คนสายกลาง”)....ผู้ช่วยบ.ก….
สมชัย(นามปากกา"พฤกษ์ภิรมย์').....ที่ปรึกษาบ.ก......
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ.....ที่ปรึกษา......
ชมรมนักข่าวช่วยสังคม......(ที่ปรึกษา).....
เสริมสุข ขวัญปัญญา(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
นงลักษณ์ สุขจิรัง(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
โทร.099-2612588(ไลน์)หรือ 086 – 7928056).....
ข่าวที่เห็นอยู่นี้เป็นตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น.....
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้ง(หลักสิบสื่อ).....
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวร่วมหลายแสนคน.....
dpm2554@gmail.com(เรามีพันธมิตรสื่อจำนวนมาก).....
คอลัมนิสต์นามปากกา“คนพิเศษ”(ผู้ตรวจข่าวคนที่1.).....
รองฯ กรรณชัย (นามปากกา”ผู้กองแอ๊ด”).....
รอง
บ.ก. ดูแลข่าวตำรวจ.....(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย).....
……………………………………………………………….
(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์...ถ่ายทอด).......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น