วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

ข่าวประชาสัมพันธ์ (ผักบุ้ง...รายงาน)น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง...(ถ่ายทอด)ประจำวันที่…..31 ม.ค. 2560


ข่าวประชาสัมพันธ์ (ผักบุ้ง...รายงาน)น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง...(ถ่ายทอด)ประจำวันที่..31 ม.ค. 2560


สายการบินเอทิฮัด ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ลงนามในข้อตกลง เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
        สายการบินเอทิฮัด ซึ่งเป็นสายการบินสัญชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกันลงนามในข้อตกลงเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยจะร่วมกันส่งเสริม
การท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวจากหลากหลายตลาด อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี อียิปต์ และคูเวต เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งนี้
Mr.Tim Burnell รองประธานบริหารสายการบินเอทิฮัด จะเป็นตัวแทนในการลงนามร่วมกับ นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการ

ด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา ททท. ณ
Executive Lounge โรงแรมแกรนด์
เซ็นเตอร์พอยต์ เทอร์มินอล 21
        โดย Mr.Burnell กล่าวว่า “สายการบินเอทิฮัดและประเทศไทยมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน
โดยกรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในเส้นทางการบินระหว่างประเทศเส้นทางแรกของสายการบินเอทิฮัด และยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางที่มีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อ่าวอาหรับ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ด้วยเที่ยวบินที่ให้บริการมายังประเทศไทยทั้ง 5 เที่ยวบิน ประกอบด้วยเส้นทางไปยังกรุงเทพมหานคร 4 เที่ยวบิน และไปยังจังหวัดภูเก็ต 1 เที่ยวบิน 

ซึ่งจากการร่วมมือกันในครั้งนี้เราตั้งเป้านำนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและตะวันออกกลางนับแสนคนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งแบบเดินทางเป็นครั้งแรกและกลับมาเยือนอีกครั้ง โดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของประเทศ และสัมผัสประสบการณ์การต้อนรับอย่างอบอุ่น ตลอดจนการให้บริการอย่างเป็นมิตรจากประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลก กรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเฉพาะในปี 2560 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังกรุงเทพฯหรือจากกรุงเทพฯ สู่เมืองต่างๆทั่วโลกกว่า 800,000 คน หากนับจากปี 2550 ซึ่งเป็นปีแรกที่เราเริ่มเปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสายการบินเอทิฮัดกว่า 6 ล้านคนและคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกๆปี”

        ด้านนายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ กล่าวว่า “ตลาดยุโรปเป็นตลาดหลักของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งการร่วมมือกับสายการบินเอทิฮัดจะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย ในส่วนของประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ส่วนของสายการบินเอทิฮัดจะได้ประโยชน์ในการส่งเสริมเครือข่ายทางการบินระหว่างประเทศ”
        ในปี 2560 นี้ ททท. ตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทย 34.5 ล้านคน สร้างรายได้โดยประมาณ 1.81 ล้านล้านบาท (5 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

        ทั้งนี้สายการบินเอทิฮัดได้เปิดเส้นทางการบินมายังกรุงเทพมหานครจำนวน 1 เที่ยวบินต่อวันในเดือนเมษายน 2547 และเพิ่มเป็น 2 เที่ยวบินต่อวันในเดือนมิถุนายน 2549 ก่อนจะเพิ่มเป็น 3 เที่ยวบินต่อวัน
ในเดือนเมษายน 2555 และเพิ่มเป็น 4 เที่ยวบินต่อวันเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 นอกจากนี้สายการบิน
ยังได้เพิ่มเที่ยวบินไปยังจังหวัดภูเก็ตในเดือนตุลาคม 2557 อีกด้วย
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

วิจัยชี้ “ประชากรเปราะบาง” คนไทยที่ถูกลืม 
พร้อมแนะโอกาสพัฒนา หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย
“ให้สิทธิ-ที่เข้าถึง-มีคุณภาพ-และเป็นธรรม”  


สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมย่อยคู่ขนานในหัวข้อ The last mile of UHC in Thailand, “Do we reach the vulnerable?” ในงานประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2560 เปิดเวทีนำเสนอประเด็นการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชากรกลุ่มเปราะบางใน

ประเทศไทย โดยเป็นเวทีนำเสนอข้อมูลสำคัญจากงานวิจัย รูปธรรมการทำงานในพื้นที่  ตลอดจนมุมมองความคิดเห็นที่ได้จากการเสวนาและการระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ  

ดร.นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ นักวิจัย ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า สวรส. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “ศึกษาแนวคิดและแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ของประเทศไทย” เพื่อถอดบทเรียนจากโครงการพัฒนาสุขภาพในชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในบริบทของประเทศไทย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาระบบสุขภาพอำเภอ ใน 8 พื้นที่ ได้แก่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก, อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น, อ.ด่านซ้าย จ.เลย, อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา, อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์, อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี, อ.กงหรา  จ.พัทลุง และ อ.คลอง ขลุง จ.กำแพงเพชร

ข้อมูลจากรายงานการวิจัย ระบุว่า ประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยทั่วไปหมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความอ่อนแอมีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น วงจรชีวิต สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนขาดศักยภาพในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่เผชิญอยู่และผลกระทบที่ตามมา ตัวอย่างกลุ่มประชากรเปราะบาง เช่น กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ เด็กในครัวเรือนยากจน ผู้สูงอายุ คนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งรวมถึงการเจ็บป่วยทางจิต เมื่อพิจารณาจากมุมมองมหภาคจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้ประชากรกลุ่มนี้มีสุขภาพไม่ดีมักมีสาเหตุมาจากการขาดโอกาสและการเข้าไม่ถึงทรัพยากรเป็นสำคัญ ทั้งนี้การเข้าถึงทรัพยากรของประชากรแต่ละกลุ่มขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ 1) “สถานภาพทางสังคมของบุคคลได้แก่ อายุ เพศ เชื้อชาติชาติพันธุ์ 2) “ทุนสังคมหรือการผูกพันกับเครือข่ายในสังคม ได้แก่ โครงสร้างครอบครัว สถานภาพสมรส การมีเพื่อนหรือเครือข่ายต่างๆ และ 3) “ทุนมนุษย์ได้แก่ การศึกษา การมีงานทำ รายได้ สภาพที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม
“เนื่องจากช่องว่างทางสังคมของประเทศไทยเริ่มถ่างกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง จากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จนถึงปัจจุบัน ประชากรกลุ่มเปราะบางกลายเป็นแนวคิดที่มีความหมายไม่เพียงในทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังหมายรวมถึง การที่กลุ่มประชากรดังกล่าวเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากกว่าประชากรทั่วไปและมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำกัด แม้ว่าประเทศไทยจะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เป็นความคาดหวังของการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ  แต่ยังพบว่านโยบายดังกล่าวยังมีช่องว่างของปัญหาทางสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่รัฐจัดให้ภายใต้นโยบายดังกล่าว ประกอบกับความเข้าใจเรื่องนี้ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการตีความคำจำกัดความ “ประชากรกลุ่มเปราะบาง” ทำให้มีการให้คุณค่าความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาแตกต่างกันออกไป” ดร.นพ.สัมฤทธิ์ กล่าว
ผศ.ดร.นพ.บวรศม ลีระพันธ์ นักวิจัย ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า จากการทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศและการสังเคราะห์จากกรณีศึกษาในประเทศไทย ทีมวิจัยได้เสนอเกณฑ์พิจารณาประชากรกลุ่มเปราะบางด้านสุขภาพในบริบทของประเทศไทย ได้แก่ประชากรที่มีคุณสมบัติอย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1) ประชากรชายขอบซึ่งอาจถูกตีตราหรือถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม หรือถูกกักกั้นออกจากสังคมในทางใดทางหนึ่ง เช่น คนยากจน คนไร้รัฐ ชาติพันธุ์กลุ่มน้อย แรงงานข้ามชาติ เด็กกำพร้า คนข้ามเพศ เกย์ เลสเบี้ยน ผู้ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติด ผู้เคยได้รับโทษจำคุกหรือพ้นโทษแล้ว เป็นต้น กลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่ควรคิดต่อว่าในประเทศไทยจะจัดระบบบริการที่เป็นธรรมให้ได้อย่างไร 2) ประชากรซึ่งมีความต้องการทางด้านสุขภาพแต่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เช่น ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ประชากรซึ่งมีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น และ 3) ประชากรซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกทอดทิ้งหรือการถูกกระทำทารุณหากไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพในระยะยาว เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการทางกาย ผู้พิการทางจิตเวช ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น กลุ่มนี้อาจจะดูไม่มีความเสี่ยงเพราะเราเข้าใจว่ามีระบบการบริการสุขภาพรองรับแล้ว แต่หากขาดการจัดการที่ดี ประชากรกลุ่มนี้อาจได้รับบริการที่มีคุณภาพไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการทางด้านสุขภาพในระยะยาว
        นพ.บวรศม กล่าวสรุปผลการศึกษา พร้อมชี้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการประชากรกลุ่มเปราะบางในประเทศไทยว่า “แม้ประเทศไทยจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราได้มุ่งเน้นในเรื่องของการจัดสิทธิให้มีความครอบคลุม  แต่ประเด็นสำคัญ ณ ขณะนี้คือ เมื่อคนไทยมีสิทธิแล้ว  พวกเขาสามารถเข้าถึงสิทธิที่รัฐจัดให้ได้หรือไม่  และเมื่อเข้าถึงสิทธิได้แล้ว พวกเขาได้รับบริการที่มีคุณภาพและเป็นธรรมตอบสนองตรงต่อความต้องการหรือปัญหาทางด้านสุขภาพที่แท้จริงของเขาเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น  คนที่อยู่ห่างไกลได้สิทธิและมีบัตร 30 บาทพกติดตัวตลอดเวลา  แต่พวกเขาไม่สามารถเดินทางเข้ามาใช้สิทธิในรพ.ที่อยู่ห่างไกลจากภูมิลำเนา หรือแม้แต่มีสิทธิแต่ไม่มีผู้ให้บริการสุขภาพอยู่ในพื้นที่ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือมีทีมงานซึ่งมีความสามารรถในการตอบสนองปัญหาสุขภาพดังกล่าวอย่างมีคุณภาพ หรือไม่มีระบบส่งต่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ที่สำคัญพบว่า นโยบายส่วนกลางยังไม่มีความชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ ปัจจุบันเราพยายามลดความแตกต่างของสิทธิด้านสุขภาพระหว่าง 3 กองทุนหลักภาครัฐ แต่ไม่ได้เน้นการพัฒนาระบบการดูแลประชากรกลุ่มเปราะบางซึ่งแฝงอยู่ในผู้มีสิทธิของทั้ง 3 กองทุนดังกล่าว เราพูดถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุนแต่ยังไม่ได้พูดถึงความเหลื่อมล้ำภายในแต่ละกองทุน ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ ช่วยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยเสนอนิยามกลุ่มเปราะบางที่ชัดเจนดังกล่าวเพื่อการออกแบบระบบการทำงานและการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม โดยให้การทำงานเรื่องนี้อยู่บนฐานคิดเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ทั้งในด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบาง และในด้านคุณภาพของบริการสุขภาพที่ได้รับ ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบติดตามประเมินผลที่ชัดเจนและต่อเนื่อง” นพ.บวรศม กล่าวสรุป
ทางด้าน นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่การดำเนินนโยบายดังกล่าวยังมีการประยุกต์ใช้แนวคิดประชากรกลุ่มเปราะบางอย่างจำกัด โดยยังขาดการสังเคราะห์ความรู้ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำให้เราได้แนวทางและข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะส่งต่อให้ผู้กำหนดนโยบายนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการพัฒนานโยบายสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางของประเทศไทยต่อไป โดย สวรส. เห็นว่า
 1) “ประเทศไทยต้องมีนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง” โดยพิจารณาถึงความต้องการทางสุขภาพเพื่อการจัดระบบบริการที่เหมาะสม โดยประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ หากเราประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องประชากรกลุ่มเปราะบางให้เป็นโอกาสของการพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะทำให้เกิดความสำเร็จและเป็นความยั่งยืนมากขึ้น ด้วยเพราะเป็นการเชื่อมโยง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เข้ากับสิทธิการให้บริการตามความจำเป็นของผู้คนได้อย่างแท้จริง
2) “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการใช้เงื่อนไขการดูแลประชากรกลุ่มเปราะบาง เป็นประเด็นชี้วัดในการติดตามคุณภาพ ความเท่าเทียม การเข้าถึงบริการของระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทย” เพราะการวัดด้วยตัวชี้วัดที่มองจากกลุ่มประชากรทั่วไปอาจยังไม่เพียงพอ แต่หากสามารถวัดได้ว่าประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแล และมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพตามความต้องการได้เพียงใด ก็จะเป็นตัวพิสูจน์ได้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยเป็นระบบที่มีคุณภาพจริง
และ 3) “นโยบายสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางไม่สามารถใช้แผนนโยบายแบบสำเร็จรูปได้ จำเป็นต้องมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่” เพื่อตอบสนองความต้องการให้กับกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันได้
“ทั้งนี้ สวรส. พร้อมที่จะสนับสนุนงานวิจัยที่ทำให้เกิดความชัดเจนของนโยบายสาธารณะที่จะตอบสนองต่อกลุ่มประชากรเปราะบาง ในพื้นที่ต่างๆ  เพื่อนำไปสู่การยกระดับการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองประชากรกลุ่มเปราะบางของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ ทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนตลอดไป” ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าว
//////////////////////////////////////////////


สอบถามข้อมูล : หน่วยสื่อสารและขับเคลื่อนการใช้ความรู้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
o  ฐิติมา นวชินกุล (เดียร์)  โทร. 02 832 9245 / 081 686 4147 / thitima@hsri.or.th

o  ศุภฑิต สนธินุช (ดิษ)     โทร. 02 832 9246 / 089 050 1165 / supadit@hsri.or.th
/////////////////////////////////////////////////////////////
ทีมงานน.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง.....ถ่ายทอด.....
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร.....
ดังมีรายนามผู้บริหารดังนี้…. บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ.....
(พี่เทพ) (บรรณาธิการและหัวหน้ากองบรรณาธิการ).....

อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และห.น.ศูนย์วิทยุน.ส.พ.ดาวสยาม.....
ผู้อำนวยการ น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง
จตุพล (นามปากกา บ.ก. 3 สื่อ)...
สุพรรณษา แซ่อั๊ง(นามปากกา"ผักบุ้ง)......
บุญรุ่ง พวงทอง.....(นามปากกาคนเดลิมิเร่อร์).....
สุพัฒน์กฤต นามปากกา (ป้อม) ที่ปรึกษา บ.ก......
ปวิ (นามปากกา รีไซเคิล)บุญชุบ (นามปากกา ตำรวจเก่า),
บรรทิศ คนเมืองคอน(ผู้ช่วย บ.ก.ดีโพลมานิวส์).....
สุจิตรา (นามปากกา หญิงเหล็ก”).....
ปฐมภพ(นามปากกา คนสายกลาง”)....ผู้ช่วยบ.ก….
สมชัย (นามปากกา"พฤกษ์ภิรมย์')ที่ปรึกษาบ.ก......
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ....ที่ปรึกษา......
ชมรมนักข่าวช่วยสังคม.....(ที่ปรึกษา).....
ชมรมนักข่าว2000......(ที่ปรึกษา).......
สำนักปฎิบัติธรรม "พลังพุทโธ"(ที่ปรึกษา).....
เสริมสุข ขวัญปัญญา(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
นามปากกา “ทนายอัจฉริยะ”
นงลักษณ์ สุขจิรัง(ฝ่ายข่าวกฎหมาย-ทนายความ).....
นามปากกา “ซ่อนดาบในรอยยิ้ม”                         
นามปากกา ปีเตอร์ หลุยส์(ที่ปรึกษาบรรณาธิการ).....
โทร.099-2612588(ไลน์) หรือ 086 – 7928056)......
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวร่วมหลายแสนคน.....
อ่านข่าวออนไลน์ของเราเพิ่มเติมได้โดยเปิด.....
google และ youtubeแล้วพิมพ์คำว่า…..
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง......
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลางออกทุกๆวันที่1และ16ของเดือน.....
มีใบตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาลให้ท่านได้ตรวจ.....
ท่านที่ต้องการอ่านน.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง.....
ฟรี!ขอได้ที่....ตู้ป.ณ. 30 ป.ณ.พลับพลาไชย กทม.10100.....
คอลัมนิสต์นามปากกาคนพิเศษ”(ผู้ตรวจข่าวคนที่1.).....
รองฯ กรรณชัย (นามปากกาผู้กองแอ๊ด”).....
รอง บ.ก. ดูแลข่าวตำรวจ.....(ผู้ตรวจข่าวคนสุดท้าย).....

(น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์รวมฉบับสายกลาง(ถ่ายทอด).......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น