วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตอบคุณสำราญเรื่องบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน : คือใคร ? มีสิทธิแค่ไหนในประเทศไทย ?(ดีโพลมานิวส์สายกลางแนะนำข่าว)

ตอบคุณสำราญเรื่องบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน : คือใคร ? มีสิทธิแค่ไหนในประเทศไทย ?

    เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๓๓ น. มีอีเมลล์ส่งผ่าน support@gotoknow.org จากคุณ sumran โดย XXX@hotmail.com และใช้หัวเรื่องว่า “อยากรู้เรื่องสิทธิ” มาถึงอาจารย์แหววว่า  “คือผมอยากทราบว่าสิทธิของบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ว่ามีสิทธิอะไรบ้างในการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย/ เช่นว่าไปไหนมาไหนซื้อรถ/บ้านได้หรือเปล่า...คืออีกมากมายที่เป็นสิทธิที่ควรจะนะคับจึ่งอยากขอความกรุณาอาจารย์ช่วยตอบให้กระผมหน่อยนะคับขอขอบพระคุณไว้นะที่นี้เป็นอย่างสูงคับผม.....”
       เพื่อให้คำตอบนี้ เราควรจะต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนคือใคร ? แล้วจึงค่อยมาเรียนรู้ว่า บุคคลในสถานการณ์ดังกล่าวจะมีสิทธิอย่างใดในประเทศไทย ?
บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนคือใคร ?
บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ก็คือ บุคคลที่รัฐไทยรับฟังว่า ยังพิสูจน์สถานะทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในสัญชาติไม่ได้ หรือพิสูจน์ได้แล้วว่า เป็นคนต่างด้าวก็ยังส่งกลับประเทศต้นทางไม่ได้ บัตรประเภทนี้จึงถูกออกให้บุคคลในสถานการณ์ดังกล่าวหลังจากการจัดทำทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้ใช้เป็นเอกสารรับรองตัวบุคคลในระหว่างรอการกำหนดสถานะบุคคลตามกฎหมายใหม่ หรือรอการส่งกลับออกนอกประเทศไทย
สาเหตุที่รัฐไทยยอมรับออกเอกสารรับรองตัวบุคคลให้บุคคลในสถานการณ์ข้างต้น ก็เพราะบุคคลดังกล่าวประสบปัญหาความไร้รัฐ หรือที่เรียกได้เต็มๆ ว่า “ไร้รัฐเจ้าของตัวบุคคล (Personal State)” กล่าวคือ ไร้สถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติ คนเข้าเมือง ตลอดจนการทะเบียนราษฎร
โดยกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐไทยหรือนานารัฐบนโลกจึงมีหน้าที่รับรองสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมาย (Recognition of Legal Personality) และโดยมาตรา ๓๘ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งรองรับหลักกฎหมายระหว่างประเทศข้างต้น รัฐไทยจึงบันทึก “คนไร้รัฐ” ที่พบในประเทศไทยในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎรประเภท ท.ร.๓๘ ก. ซึ่งทะเบียนประวัตินี้มีชื่อว่า “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” หรือหากจะเรียกให้ครบถ้วนก็คือ “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร” และผลต่อมา ก็คือ การได้รับบัตรประจำตัวบุคคลตามกฎหมายทะเบียนราษฎรไทยที่มีชื่อว่า “บัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร”
เอกสารที่รัฐไทยอาจออกในคนไร้รัฐ หรือ "บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน" ที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย ถูกกำหนดรูปแบบไว้ใน ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนั้น  ผู้ที่ถือบัตรนี้จึงไม่ไร้รัฐ และเป็นบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง
บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนมีสิทธิอย่างใดในประเทศไทย ?
๑.           ในเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนั้นไม่มีปัญหา
๑.๑.        มีสิทธิในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรา ๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐
๑.๒.       มีสิทธิทางการศึกษา เรียนได้ จบได้วุฒิการศึกษา
๑.๓.        มีสิทธิได้รับรักษาพยาบาลได้  แต่ยังไม่ได้หลักประกันสุขภาพแบบบังคับ แต่อาจใช้หลักประกันสุขภาพทางเลือก
๑.๔.       มีสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพได้
๑.๕.       มีสิทธิเดินทางเพื่อการศึกษาและรักษาพยาบาล
๒.           สิทธิในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายที่เหมาะสม
๒.๑.       หากมีข้อเท็จจริงฟังว่า มีสัญชาติไทย ก็ร้องขอพิสูจน์สัญชาติไทยได้
๒.๒.       หากมีข้อเท็จจริงว่า เป็นคนต่างด้าวที่อาจได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองและอาศัยอยู่อย่างถูกกฎหมาย ก็ร้องขอสิทธิดังกล่าวได้
๒.๓.       ในระหว่างที่ยังมีสถานะบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ก็ไม่มีสถานะของคนไร้รัฐแล้ว เพราะมีสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรไทยแล้ว เพียงแต่ในขณะรอการกำหนดสิทธิในสถานะบุคคลที่เหมาะสมต่อไป ก็ยังมีสถานะเป็นคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยในประเทศไทยในพื้นที่ที่ได้รับการทำทะบียนประวัติ ก็คือ พื้นที่ที่ระบุในบัตร โดยสรุป มีสถานะเป็นราษฎรไทยประเภทคนอยู่ชั่วคราว แม้จะยังไร้สัญชาติและไร้สถานะคนเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย 
๓.           สิทธิในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๓.๑.        มีสิทธิทำงาน แต่ต้องขออนุญาต และต้องไม่ทำอาชีพที่สงวนให้คนสัญชาติไทย
๓.๒.       มีสิทธิลงทุนประกอบธุรกิจ แต่ต้องขออนุญาต และต้องไม่ทำธุรกิจที่สงวนให้คนสัญชาติไทย
๓.๓.        มีสิทธิในทรัพย์สิน จึงซื้อเช่าหรือทำนิติกรรมตามกฎหมายเอกชนเกี่ยวกับทรัพย์สินได้ แต่ไม่อาจมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
๓.๔.       ดังนั้น ซื้อบ้านได้ แต่ถือครองกรรมสิทธิในบ้านไม่ได้
๓.๕.       ซื้อรถได้ และถือครองกรรมสิทธิ์ในรถได้ เพราะรถมิใช่อสังหาริมทรัพย์ แต่ในความเข้าใจของสภาความมั่นคงแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบกยังมีปัญหาซึ่งในขณะนี้ มีข้อเรียกร้องของเอนจีโอให้มีการยกร่างกฎมายในระดับกฎหมายปกครองให้เป็นที่เข้าใจต่อสาธารณชน
๓.๖.        มีสิทธิในการเดินทางเพื่อประกอบอาชีพ แต่ต้องขออนุญาต
๔.          สิทธิในการเข้าร่วมทางการเมือง
๔.๑.       ไม่มีสิทธิเข้าร่วมทางการเมืองเลย
๔.๒.      ถ้าเข้าร่วม ก็จะมีโทษทางอาญาค่ะ  
๕.          สิทธิในการกระบวนการยุติธรรม
๕.๑.       มีสิทธิฟ้องคดีทั้งแพ่ง พาณิชย์ อาญา ปกครอง
๕.๒.      มีโอกาสถูกฟ้องเป็นจำเลยทั้งในคดีแพ่ง พาณิชย์ และอาญา แต่ก็มีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค กล่าวคือ อาจร้องขอทนายความจากศาล ศาลต้องรับฟังคำให้การแก้ฟ้องอย่างเท่าเทียมกับคนที่มีสัญชาติ
๕.๓.       จะถูกจำคุกเพราะไม่ชำระหนี้ทางสัญญาไม่ได้
หมายเลขบันทึก: 314147, เขียน: , แก้ไข, 4 ปีที่แล้ว, สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, ดอกไม้: 4, ความเห็น: 252, อ่าน: คลิก
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/314147

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


ขอถามเรื่อง ทร.38ขและทร14/1 ค่ะ


เจน
4 ปีที่แล้ว
ตามหัวข้อเลยค่ะ ไม่เข้าใจว่าจะต้องไปขอเอาที่ไหน พอดีแฟนหนูเขาอยู่ที่เชียงราย ถือบัตรคนไม่มีสถานะทางทะเบียน เขาจะย้ายมาอยู่กับหนูที่เชียงใหม่ ทางอ.เมืองเชียงรายเขาบอกให้มารายงานตัวที่อ.ที่เขาพักอยู่และไปติดต่อสำนักจัดหางานเชียงใหม่ ทางสำนักจัดหางานเขาบอกว่าต้องมีสำเนา ทร38ข หรือ ทร14/1 หนูก็ไม่ค่อยจะเข้าใจเลยค่ะ อาจารย์ช่วยตอบหนูที

Phachern Thammasarangkoon
4 ปีที่แล้ว
ท.ร.๓๘ ข คือ แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน 
มาจากทะเบียนประวัติสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ท.ร.๓๘ ก)  
(ท.ร. ๓๘ ก คือ ทะเบียนราษฎร ที่ใช้สำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หรือ ไร้รัฐ
เป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนไร้รัฐ
โดยจะมีเลขบัตรประจำตัว ๑๓ หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข ๐)
สำหรับ ท.ร.๑๔/๑     เป็นแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียนของสำนักทะเบียนกลาง
สรุป ท.ร.๑๔/๑ ก็คือ ทะเบียนบ้านที่รับรองโดยสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นฯ เป็นรายบุคคล (๑ คน ต่อ ๑ ฉบับ)

ทั้ง ท.ร.๓๘ ข. และ ท.ร.๑๔/๑ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นฯ จะเป็นผู้ออกรับรองให้ ค่าธรรมเนียบฉบับละ ๑๐ บาท ไปขอยื่นคำร้องขอคัดรับรองได้เลยที่สำนักทะเบียนฯ ทุกแห่งทั่วประเทศ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/questions/16274


๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑



ส่วนกรณีผู้ถือบัตรหัว 0 ที่ได้สำรวจหลังปี 2548-2549-2550-2551-2552 จะสามารถเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมภายในจังหวัดได้ เฉพาะผู้ที่มีหมายเลขบัตร (0-xxxx-๘๙xxx-xx-x) โดยสังเกตเลขบัตรหลักที่ 6 และ หลักที่ 7 ต้องเป็นเลข ๘๙ เท่านั้น ถ้าหลักที่ 6 และ 7 เป็นเลข 00 จะไม่สามารถเดินทางออกนอกเขตควบคุมพื้นที่ได้    โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย 2559 เป็นต้นไป และกรณีพิเศษสามารถเดินทางออกราชอาณาจักรต้องขอทำเรื่องที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของตนส่งเรื่องให้ปลัดกระทรวงอนุมัติให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้และอีกกรณีหนึ่งขออนุญาตออกนอกเขตควบคุมตามที่ตนกำลังศึกษาเรียนตามหลักสูตรเป็นระยะเวลาหลายปีได้แต่ต้องไปรายงานตัวต่อ นายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการเขตที่ตนศึกษาอยู่และอีกกรณีหนึ่งสามารถมีสิทธิ์ทำบัตรทองได้

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
“คนถือบัตรเลขศูนย์” ก็คือ ราษฎรไทย(ดีโพลมานิวส์สายกลาง

แนะนำข่าว)


“คนถือบัตรเลขศูนย์” ก็คือ ราษฎรไทยในทะเบียนประวัติตาม


กฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประเภทบุคคลที่ไม่มี


สถานะทางทะเบียน (ท.ร.๓๘ ก) ซึ่งมีเลขประจำตัว ๑๓ หลักขึ้น


ด้วยด้วยเลข ๐ เป็นสถานะบุคคลตามมาตรา ๓๘ วรรค ๒[4] แห่ง 


พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย 


พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ ประกอบกับ 


ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียน


สำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. ๒๕๔๘




คนดังกล่าวถึงมีสถานะเป็นราษฎรไทยประเภทหนึ่ง แม้บัตรจะ


เขียนว่า เป็น “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” แต่คนดังกล่าวก็มี


สถานะเป็น “บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียน” หรือเป็นบุคคลที่ได้รับ


การรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียน


ราษฎร เป็น registered person มิใช่ unregistered person




๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑





(โปรดคลิกที่ภาษา
อังกฤษเพื่อดูคลิปเพิ่ม)

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
(เครดิต)
ขอให้เครดิตชื่อด้านล่างนี้ทุกชื่อ

 .
(เครดิต)
ขอให้เครดิตชื่อด้านบนนี้ทุกๆชื่อ
คลิปหรือข่าวของเราต้องมีชื่อ
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์สายกลาง
หรือชื่อตามที่ระบุใน(เครดิต)
และมีชื่อทีมงานทุกตอนเท่านั้น
ถ้าไม่มีแสดงว่าไม่ใช่ของเรา
ถ้าจะดูข่าวเพิ่มเติมให้คลิกที่
ภาษาอังกฤษถัดลงมาใต้จอ
เป็นสีน้ำเงินอยู่บนคำว่า

(โปรดคลิกที่ภาษา
อังกฤษเพื่อดูคลิปเพิ่ม)

ต้องการอ่านรายละเอียด)
หรือดูภาพนิ่งที่)คมชัดกว่านี้ให้
เปิดดูที่ชื่อแว๊บนี้)
diplomanews.
blogspot.com
ขอขอบคุณและให้เคร
ดิตเจ้าของภาพ/ข่าว/)
โลโก้/รายชื่อ/ตามที่ปรากฏ
อยู่)เหนือ/ใต้/ซ้ายขวา/
ภายในคลิปและ
ภาพ/ข่าวทั้งหมดนี้”)
คลิปหรือข่าวของเราต้องมีชื่อ
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์สายกลาง
หรือชื่อตามที่ระบุใน(เครดิต)
และมีชื่อทีมงานทุกตอนเท่านั้น
ถ้าไม่มีแสดงว่าไม่ใช่ของเรา
ทีมงานน.ส.พ.
ดีโพลมานิวส์สายกลาง)
มีผู้บริหารดังนี้)
บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ)
(พี่เทพ) (บรรณาธิการและ)
หัวหน้ากองบรรณาธิการ)
อดีตห.น.ข่าวร้องทุกข์และ)
ห.น.ศูนย์วิทยุ)น.ส.พ.ดาวสยาม)
ปัจจุบันผู้อำนวยการ)
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์สายกลาง)
ผู้ทำข่าวส่งยูทูบในฐานะ
Partner  youtube
เสริมศิริ  เพ็ญเขตกร )
บรรณาธิการบริหาร)
EIAM  SAETANG)
(ฝ่ายเท็คนิคและทำข่าวส่งยูทูบ)
รองฯ กรรณชัย
 (นามปากกาผู้กองแอ๊ด”)
ปฐมภพ หิรัญสัจจาเลิศ)
(นามปากกา “คนสายกลาง”)
....ที่ปรึกษา ผ.อ.)
สมชัย บริเวณไพศาล)
ที่ปรึกษา ผ.อ)
จตุพล(นามปากกาอัพเดท)
สุพรรณษา แซ่อั๊ง
(นามปากกา"ผักบุ้ง)
สุนันทา ธัญญะพัฒนา)
(ที่ปรึกษา ผ.อ.)นามปากกา
(ดอกคูณเมืองขอนแก่น)
ที่ปรึกษาผ.อ.)
บรรทิศ คนเมืองคอน)
(ผู้ช่วย บ.ก.ดีโพลมานิวส์)
บุญรุ่ง พวงทอง )
นามปากกา(คนเดลิมิเร่อร์)
ชมรมสื่อมวลชน
และเพื่อนทนายความ)
....ที่ปรึกษา)
เรามีทนายความ)
ช่วยเหลือคนจน)
ชมรมนักข่าวช่วยสังคม)
(ที่ปรึกษา).....สื่อในเครือ)
เสริมสุข ขวัญปัญญา)
(ฝ่ายข่าวกฎหมาย)
ทนายความ)
นงลักษณ์ สุขจิรัง)
(ฝ่ายข่าวกฎหมาย)
ทนายความ)
099-2612588(ไลน์)
086 – 7928056)
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามี
ผู้อ่านข่าวร่วมหลายแสนคน)
dpm2554@gmail.com)
(เรามีพันธมิตรสื่อจำนวนมาก)
นามปากกาคนพิเศษ”)
(ผู้ตรวจข่าวคนที่1.)
ตรวจสอบชื่อผู้สื่อข่าว
โทร.086-7928056

(ดีโพลมานิวส์สายกลางแนะนำข่าว)

ถ้าต้องการอ่านข่าวอื่นต่อให้คลิก
ที่ลูกศรด้านล่างขวามือสุดใกล้
กับคำว่าหน้าแรกในมือถือท่าน
********************



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น