บรรยาการการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ซื้อจาก 56
ประเทศ และผู้ขายจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ในงาน
Thailand Travel Mart Plus (TTM+) 2017
ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7
รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 14-16
มิถุนายน
2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการขายแหล่งท่องเที่ยวและบริการทางการท่องเที่ยวของไทยในตลาดต่างประเทศ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวจากต่างประเทศได้รับข้อมูลสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
“ปลัดท่องเที่ยว” ชูสุดยอดเส้นทางภาคเหนือ ชวนตามรอยอารยธรรมล้านนา
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานแถลงข่าวโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสุดยอดอารยธรรมล้านนาตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อคัดเลือก
“ศักยภาพเส้นทางต้นแบบ The
Ultimate Lanna Experience Campaign” พร้อมด้วย นายพุฒิพงศ์
ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสุธน
วิชัยรัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ และ
ดร.กรวรรณ สังขกร หัวหน้าศูนย์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดึงศักยภาพในแต่ละท้องถิ่น
และเป็นการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำ เชียงใหม่
(คุ้มขันโตก) โดยได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ปัจจุบันเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอายธรรมล้านนา
ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่
เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา
และจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่อง
เที่ยวแห่งชาติ มีมติให้เพิ่มอีก 3 จังหวัด
ในอนาคต คือ แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน เนื่องจากทั้ง 3 จังหวัดที่เพิ่มขึ้นมานี้
มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่คล้ายคลึงกัน
และสามารถพัฒนาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้ ทำให้ในอนาคตจะมีเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอายธรรมล้านนาทั้งหมด
8 จังหวัด
ปลัดฯพงษ์ภาณุ
กล่าวเพิ่มเติมว่า เส้นทางสุดยอดอายธรรมล้านนา ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ
1. เส้นทางมนต์เสน่ห์ล้านนา
2. เส้นทางวิถีล้านนา สุดทางรักษ์แม่น้ำโขง
3. เส้นทางหัตถกรรม หัตถ์ศิลป์ ถิ่นล้านนา
ซึ่งเมื่อวันที่
1 กุมภาพันธ์ 2560 “เส้นทางหัตถกรรม หัตถ์ศิลป์ ถิ่นล้านนา”
ได้รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เนื่องจากได้รับคัดเลือกให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางหัตถกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่มีเอกลักษณ์และความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ
สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น
จังหวัดลำปาง ได้แก่ เซรามิก ชามตราไก่, จังหวัดลำพูน ได้แก่ ผ้าทอมือและแกะสลัก,
จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ผ้าพื้นเมือง เครื่องเงิน, จังหวัดเชียงราย ได้แก่
ผ้าทอไทลื้อ ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชาวไทยภูเขาดอยตุง และจังหวัดพะเยา ได้แก่
ผ้าทอไทลื้อ และผลิตภัณฑ์ผักตบชวา
โดยกิจกรรมที่สำคัญของโครงการฯ ได้แก่
1. สำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว สินค้า และบริการในเส้นทางอารยธรรมล้านนา
2. จัดทำแผนแม่บท เส้นทางท่องเที่ยวสุดยอดอายธรรมล้านนา พ.ศ. 2560-2562
3. คัดเลือกเส้นทางต้นแบบ The Ultimate Lanna Experience Campaign
4. พัฒนารูปแบบสินค้า การบริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว
โดยมีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนารูปแบบสินค้า การบริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว
รวมถึงจัด FAM Trip ตามเส้นทางท่องเที่ยวสุดยอดอารยธรรมล้านนาและจัดทำ
Web service ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว
5. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ โดยจัดให้มี
คู่มือประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวสินค้าและบริการ, การจัดทำแผ่นพับ,
การประชาสัมพันธ์ผ่าน Website ด้านการท่องเที่ยว,
การจัดทำคลิปวีดีโอ The Ultimate Lanna Experience Campaign
และจัดงานแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์
ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงได้จัดการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยว
ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาสัมผัสเส้นทางสุดยอดอารยธรรมล้านนา
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
ททท. จับมือประเทศกลุ่ม CLMV เชิญสื่อมวลชนทั่วโลกร่วมอัพเดทสินค้าท่องเที่ยวพร้อมขาย ในงาน TTM + 2017
------------------------------------------------------------------------------
บ่ายวันนี้ (วันที่ 15 มิถุนายน 2560) ณ
ห้องลีลาวดี ศูนย์การประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมด้วย
Mr. Seila Hul, Deputy
Director General, Ministry of Tourism จากราชอาณาจักรกัมพูชา
Mr. Vongdeuan Keosulivong, Acting Director of Division Tourism Marketing Department Ministry
of Information, Culture and Tourism จาก สปป.ลาว Mr. Nyi Nyi Oo, Deputy Director Directorate of Hotels and
Tourism Ministry of Hotels and Tourism จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และ Mr.Vu Nam, Deputy Director General Tourism Marketing
Department, Vietnam National Administration of Tourism จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ร่วมในงานเสวนาในหัวข้อหลัก “CLMVT:
Moving towards Shared Prosperity” โดยมีสื่อมวลชนจากทั่วโลกและจากประเทศไทยเข้าร่วมกว่า
100 ราย
เพื่อนำเสนอความคืบหน้าด้านตลาดการท่องเที่ยวของไทยและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
และสร้างการ
รับรู้ผ่านสื่อมวลชนไปยังกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เดินทางมายังประเทศไทยในฐานะผู้ซื้อ
(Buyers) ภายในงาน Thailand Travel Mart Plus the
Greater Mekong Subregion 2017 (TTM+ 2017)
ทั้งนี้ ภายในงานเสวนา แบ่งหัวข้อย่อย ได้แก่
ทั้งนี้ ภายในงานเสวนา แบ่งหัวข้อย่อย ได้แก่
1. Living Heritage – โดยผู้แทนจากราชอาณาจักรกัมพูชา
2. Atelier of Creativity: Local Experience – โดยผู้แทนจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
3. Lively Metropolis and Foodie Experience – โดยผู้แทนจากประเทศไทย
4. Self-drive and Overland Experience – โดยผู้แทนจาก สปป.ลาว
5. Local
Luxury by Cruise – โดยผู้แทนจาก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ททท.
1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2250
5500 ต่อ 4520-22
โทรสาร 0 2250 5681-3 www.tatnewsthai.com e-mail:prdiv5@tat.or.th
นายฉัททันต์ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท.
กล่าวถึงหัวข้อ Lively Metropolis and Foodie Experience ว่า “ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยมเดินทางเพื่อท่องเที่ยวพร้อม
ๆ กับการรับประทานอาหารในร้านอาหารถิ่น
รวมถึงร้านอาหารที่เป็นที่นิยมในพื้นที่นั้น ๆ
โดย ททท. เห็นช่องทางในการกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวผ่าน “Gastronomy
tourism” หรือ “การท่องเที่ยวเชิงอาหาร” เนื่องจากอาหาร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการเดินทางท่องเที่ยวได้หลากหลาย
เราสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ผู้คนและชุมชน
ผ่านการเรียนรู้ถึงเรื่องราวและความเป็นมาที่น่าสนใจสอดแทรกอยู่ในอาหารถิ่นทุกประเภท
“
ทั้งนี้ ททท. ได้เปิดตัวแคมเปญ “Amazing Thai Taste” ซึ่งเน้นสร้างการรับรู้ว่าประเทศไทยมีจุดเด่นด้านอาหาร
ที่สามารถดึงดูดนักชิมอาหารจากทั่วโลกให้เดินทางมาประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่ม Food tourism เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมหาศาล
ทั้งมาเพื่อท่องเที่ยวและชิมอาหาร
รวมถึงเดินทางมาเพื่อสัมผัสประสบการณ์การทำอาหารไทย
รวมถึงเดินทางไปยังแหล่งผลิตวัตถุดิบสำหรับอาหารประเภทต่างๆ ที่ตนชื่นชอบอีกด้วย กอปรกับเมื่อเร็วๆนี้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน
Asia’s 50 Best Restaurants 2017 หรือ 50
ร้านอาหารยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จัดอันดับโดยสมาคม Asia
s 50 Best Restaurants Academy ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำที่มีอิทธิพลในอุตสาหกรรมร้านอาหารทั่วภูมิภาคเอเชียกว่า
300 ท่าน ประกอบด้วยนักเขียน นักวิจารณ์อาหาร เชฟ
เจ้าของร้านอาหาร และผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักชิม เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าผลจากการจัดอันดับดังกล่าว
ได้ปรากฏรายชื่อร้านอาหารจากประเทศไทยรวม จำนวน 9 ร้าน ได้แก่ ร้านกากั้น Gaggan (อันดับ 1) ร้านน้ำ
Nahm (อันดับ 5) ร้านซูห์ริ่ง
Sühring (อันดับ 13) ร้านโบ.ลาน Bo.Lan (อันดับ
19) ร้านอิษยา
สยามมิส คลับ Issaya Siamese Club (อันดับ 21) เดอะ ไดน์นิ่งรูม แอท เดอะ เฮ้าส์
ออน สาทร The Dining Room at The House on Sathorn (อันดับ 36)
เลอ ดู Le Du (อันดับ 37) และ ลาเตอร์ลิเย่ร์ เดอ โจแอล โรบูชง แบงค็อก L’Atelier de Joël Robuchon
Bangkok (อันดับที่ 40) ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร
ในฐานะเป็นเมืองแห่งอาหารการกิน ดึงดูดให้บรรดานักท่องเที่ยว นักชิม
และเชฟชื่อดังระดับโลกมากมาย เดินทางมาสัมผัสความอร่อยเป็นจำนวนมากในทุกๆ ปี
กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ททท.
1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2250
5500 ต่อ 4520-22
โทรสาร 0 2250 5681-3 www.tatnewsthai.com e-mail:prdiv5@tat.or.th
ในโอกาสนี้ United Nations Educational,
Scientific and Cultural Organisation หรือ UNESCO ยังได้ประกาศให้จังหวัดภูเก็ตเป็น
“City of Gastronomy” หรือ “เมืองของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร” ด้วยเหตุผลที่จังหวัดภูเก็ตเป็นหมู่เกาะที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์
มีวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร
นอกเหนือจากหาดทรายชายทะเล กิจกรรมด้านกีฬาทางน้ำ รวมถึงโรงแรมที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนอย่างไม่ขาดสาย
สำหรับกิจกรรมที่กำลังจะจัดขึ้นเร็วๆนี้
ได้แก่ การเป็นผู้สนับสนุนการจัด “Michelin Guide Bangkok 2017” เป็นครั้งแรก
ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้
และประเทศไทยยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน World Forum on
Gastronomy Tourism 2018 ซี่ง ททท.
คาดว่าจะกระตุ้นการรับรู้ไปสู่สายตานักท่องเที่ยวทั่วโลกว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของ
Gastronomy Tourism destination ระดับโลก
...........................................................................
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น