รมว.ท่องเที่ยว ประกาศใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพิ่มรายได้ ( Value
Added Tourism) สินค้า-บริการท้องถิ่น เพื่อกระจายรายได้
ดันสร้างรายได้ไทยให้และผลัก GDP ไทยให้โตต่อเนื่อง
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กล่าวว่า ภาพรวมรอบครึ่งปีขณะนี้ (ม.ค.-มิ.ย.2560) พบว่าการท่องเที่ยวไทยมีการขยับเพิ่มทั้งรายได้
852,038.62 ล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยว
16,818,556 คน เติบโตขึ้นกว่าปี 2559 กว่า 5.61% และ 3.91% ตามลำดับ โดยข้อมูลมีความสอดคล้องกับการคาดการณ์ ของ World Travel and Tourism Council ( WTTC) ที่ได้วิเคราะห์ว่า ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยเติบโตอย่างมาก และมีแนวโน้มจะเติบโตมากขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า
นับจากปี 2016 เป็นต้นมา โดยในปี ค.ศ. 2016 ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
(Visitor exports) รวมมูลค่า 53.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นร้อยละ 78.6 ของรายได้จากมูลค่าการส่งออกด้านการบริการ
(Service exports) ของประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 19.1 ของรายได้จากมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Goods and Services) โดยรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็น
17% ของ GDP ในปี 2559
ทั้งนี้ WTTC ยังคาดการณ์อีกว่า ในอีก 10
ปีข้างหน้ามูลค่าเพิ่มสาขาการท่องเที่ยวจะขยายตัวสูงที่สุด ซึ่งจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ
6.7 ส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นโจทย์ข้อใหญ่นับจากนี้
ในการที่ประเทศไทยจะต้องมีการวางยุทธศาสตร์รากฐานการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวไว้อย่างครอบคลุมรอบด้าน
และเติบโตอย่างยั่งยืน
"วันนี้เป้าหมายสำคัญคือ
เราต้องทำให้การท่องเที่ยวสร้างรายได้ กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศได้
เห็นได้ชัดว่าการท่องเที่ยวมีความสำคัญในการขับเคลื่อน GDP ประเทศไทย และในอีก
10 ปีข้างหน้าจะยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้โอกาสนี้หาช่องให้การท่องเที่ยวไทยเพิ่มรายได้ (Value Added Tourism) ให้กับสินค้า
การบริการท้องถิ่นของไทยไปด้วยกันได้ด้วย" นางกอบกาญจน์กล่าว
นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า ทั้งนี้ในช่วงเวลานับจากปีนี้
ไทยจะเน้นเรื่องการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวใน 6 ด้านที่สำคัญคือ
ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง (Hubs) การเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน 5 ด้าน
ได้แก่
1.การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) 2.การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(Medical & Wellness) 3.การเป็นศูนย์กลางการจัดงานแต่งงาน
(Wedding & Romance) 4.การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำ (Maritime Tourism) 5.การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง
(ASEAN Connect) 6. การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy
Tourism)
******************************
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว
ททท. ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
พร้อมเสวนา
“ความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม”
|
บ่ายวันนี้ (30 มิถุนายน 2560)
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
และศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) ได้ลงนามบันทึกข้อ
ตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการการวิจัยเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการไทย
ระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยในอนาคตท่ามกลางวิกฤตการณ์
และกระแสการท่องเที่ยวใหม่ๆ ณ ห้อง Sapphire Suite โรงแรมโนโวเทล
กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
นายยุทธศักดิ์ สุภสร
ผู้ว่าการ ททท. เปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว
หรือศูนย์ TATIC (TAT Intelligence Center) ของ ททท.
ที่มีเครือข่ายหน่วยงาน
พันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยให้สามารถนำมาต่อยอดแนวความคิดและวิเคราะห์สถานการณ์ร่วมกัน
ซึ่งเชื่อมั่นว่าผลต่อเนื่องจากการลงนามในครั้งนี้จะเสริมความเข้มแข็งให้ศูนย์ TATIC
สร้างประโยชน์ให้แก่
ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนด้านการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในเวทีโลก
สำหรับการเสวนา ในหัวข้อ
“ความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม”
ถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือกับ สกว. โดยมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
และฉายภาพแนวโน้มของการท่องเที่ยวไทยในอนาคตสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมตามมุมมอง
ของแต่ละหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้เห็นสถานการณ์แนวโน้มและเหตุปัจจัยต่างๆ
ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวตลอดจนกลยุทธ์การเตรียมความพร้อมที่จะสร้างความแตกต่างของไทยในเวทีโลก
ททท.
ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยตระหนักถึงศักยภาพขององค์กรในการแข่งขันในระดับโลก จึงได้วางรากฐานและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยวของไทยเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน
ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ศูนย์ TATIC เป็นเสมือนเข็มทิศชี้นำทิศทางแนวโน้มในอนาคตของการท่องเที่ยวไทย
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีข้อมูลในการต่อยอดองค์ความรู้ด้านการตลาด ตลอดจนจะได้ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปให้ทันต่อสถานการณ์ท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวในทางที่ดีขึ้น
ภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวในไตรมาสที่
2 ปี 2560 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา
มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 40 ล้านคน-ครั้ง รายได้ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9
และชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 8.02 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 4
แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ทั้งนี้ ประมาณการว่าเมื่อสิ้นปี 2560
จะมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 156.37 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ประมาณ 9.6 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.98 ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยจำนวน 35 ล้านคน
สร้างรายได้ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59 ทั้งนี้
สามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ที่ www.tourismthailand.org/TATIC หรือ TATIC
Mobile Application
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น