วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

(รายงาน) ผ่าโครงสร้างใหม่'กรมปทุมวัน'(ดีโพลมา2238)

(รายงาน) ผ่าโครงสร้างใหม่'กรมปทุมวัน'(ดีโพลมา2238) 

18 กรกฎาคม 2557 - 0:17:00

(รายงาน) ผ่าโครงสร้างใหม่'กรมปทุมวัน'(ดีโพลมา2238) 
คสช.ลงดาบล้างอำนาจฝ่ายการเมือง
"อ่านทาง" จากประกาศ 3 ฉบับของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ 
คสช.ที่เกี่ยวกับการบริหารงานตำรวจ คือ ฉบับที่ 87, 88 และ 89/2557
ลงวันที่ 14 ก.ค.57 แล้ว พอมองเห็นเจตนาของ คสช.ว่า ต้องการรื้อ
โครงสร้างตำรวจใหม่ โดยผลักดันฝ่ายการเมืองออกไป เพราะเชื่อว่า
ปัญหาของตำรวจที่เละเทะอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะถูก "การเมืองครอบงำ"
นี่อาจเป็นปฐมบทของการ"ปฏิรูปตำรวจ" ตามความตั้งใจของ คสช. 
ซึ่งอยู่ในร่มใหญ่ของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 1 ใน 11 ประเด็นที่
ต้องปฏิรูปด้วย
ส่วนการรื้อโครงสร้างตำรวจถือเป็นการจัดการปัญหาอย่างถูกวิธีหรือไม่
ระยะเวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ทว่า ณ วันนี้ โครงสร้างอำนาจภาย
ในกรมปทุมวันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิงจากประกาศ คสช.
 ฉบับที่ 88 และ 89
ลดอิทธิพลฝ่ายการเมือง
ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่การตัดอำนาจฝ่ายการเมือง ให้คงเหลืออยู่ใน
โครงสร้างตำรวจน้อยที่สุด กล่าวคือ
1.จัดโครงสร้างของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ใหม่
ทั้งนี้ ก.ต.ช.คือคณะกรรมการที่มีอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งผู้บัญชาการ
ตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จากเดิมมีกรรมการ 11 คน ประกอบด้วย ฝ่าย
การเมือง 3 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ รมว.มหาดไทย กับ
รมว.ยุติธรรม เป็นกรรมการ, ฝ่ายประจำ 4 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
และผบ.ตร.ที่เหลืออีก 4 คน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้านงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาองค์กร และผู้ทรงคุณวุฒิด้าน
วางแผนหรือบริหารจัดการ ซึ่ง ก.ต.ช.โดยตำแหน่ง 7 คนแรกเป็นผู้พิจาร
ณาคัดเลือกสำหรับโครงสร้าง ก.ต.ช.ใหม่ตามประกาศ คสช. จะมีจำนวน
กรรมการลดลงเหลือ 9 คน ประกอบด้วยฝ่ายการเมือง 2 คน ได้แก่ นายกฯ
กับรองนายกรัฐมนตรีที่นายกฯมอบหมาย, ฝ่ายประจำ 5 คน ได้แก่ ปลัด
กระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำ
นวยการสำนักงบประมาณที่เหลืออีก 2 คนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมาจากการ
คัดเลือกของวุฒิสภาข้อสังเกต - การรื้อโครงสร้าง ก.ต.ช. เพื่อลดจำนวน
ฝ่ายการเมืองที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งลง แล้วเพิ่มสัดส่วนข้าราชการ
เข้าไป โดยเฉพาะปลัดกระทรวงกลาโหม ขณะที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลด
ลงจาก 4 คนเหลือเพียง 2 คน ซ้ำยังให้อำนาจวุฒิสภาเป็นผู้คัดเลือกนั้น
เท่ากับเป็นการปิดช่องไม่ให้ฝ่ายการเมืองบล็อกโหวตการเลือก ผบ.ตร.
คนใหม่ได้
2.ให้ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน เป็นผู้เสนอชื่อข้าราชการตำรวจให้ ก.ต.ช.แต่ง
ตั้งเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ จากเดิมที่ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อ
ข้อสังเกต - การปรับเปลี่ยนผู้เสนอชื่อ เพื่อไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรก
แซง และยังให้น้ำหนักกับ ผบ.ตร.คนปัจจุบันว่าน่าจะรู้เรื่องการบริหารบุค
คลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมากที่สุด
ปิดทาง "ที่ปรึกษา (สบ 10)"
3.ตีกรอบให้ข้าราชการตำรวจยศ "พลตำรวจเอก" ที่มีสิทธิ์ได้รับการ
เสนอชื่อจาก ผบ.ตร.คนปัจจุบัน ขึ้นเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ เหลือเฉพาะรอง
ผบ.ตร.ตำแหน่งหลักและจเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) เท่านั้น จากเดิมที่
เปิดให้ข้าราชการตำรวจยศ "พลตำรวจเอก" ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการเสนอ
ชื่อเท่าเทียมกันโดยนัยนี้หมายความว่า ข้าราชการตำรวจยศ "พลตำรวจเอก"
ที่ดำรงตำแหน่ง "ที่ปรึกษา (สบ 10)" ไม่มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ และอาจ
ร่วมถึงหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ หรือ หน.นรป.ซึ่งครองยศ
"พลตำรวจเอก" ด้วย!ข้อสังเกต - ประกาศคสช.ในประเด็นนี้ ถือเป็นการ
ผ่าตัดโครงสร้างข้าราชการตำรวจระดับนายพล เนื่องจากแต่เดิมในยุค
กรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติช่วงต้นๆ มีข้าราชการตำรวจยศ
"พลตำรวจเอก" ราวๆ 5-7 นายเท่านั้น แต่ภายหลังมีการเปิดตำแหน่ง
"ที่ปรึกษา (สบ 10)" ให้กับข้าราชการตำรวจระดับ "พลตำรวจเอก"
ที่ออกไปรับราชการหน่วยงานอื่น แล้วย้อนกลับมารับราชการที่สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติอีกครั้ง
ตำแหน่ง "ที่ปรึกษา (สบ10)" นั้น แรกๆ เปิดให้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัว คือ
เมื่อเกษียณอายุราชการไปก็ยุบตำแหน่งนั้นไป โดยคนแรกๆ ที่นั่งตำแหน่ง
นี้ คือ พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ที่ย้ายจากอธิบดีกรมสอบสวนคดี
พิเศษ (ดีเอสไอ) กลับมายังกรมปทุมวัน แต่ภายหลัง "ที่ปรึกษา (สบ10)"
กลายเป็นตำแหน่งอะไหล่ให้ฝ่ายการเมืองใช้แก้ปัญหาในการแต่งตั้งโยก
ย้าย และเปิดเป็นตำแหน่งถาวร โดยในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น
นายกรัฐมนตรี มีการเปิดตำแหน่งดังกล่าวนี้จำนวนมาก
ปัจจุบันในโครงสร้างระดับสูงสุดของตำรวจ หากนับรวม ผบ.ตร.ด้วย จะ
พบว่ามีข้าราชการตำรวจยศ "พลตำรวจเอก" 15 คน ในจำนวนนี้มีถึง 5 คน
ครองตำแหน่ง "ที่ปรึกษา (สบ 10)"
ที่สำคัญในอดีต ตำแหน่ง "ที่ปรึกษา (สบ 10)" ไม่มีลุ้น ผบ.ตร. เพราะ
ไม่มีสิทธิ์เข้าประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) แต่ภายหลัง
มีการขยับขยาย ด้วยการให้กลุ่ม "ที่ปรึกษา (สบ 10)" นับอาวุโสกันเอง
เมื่อถึงฤดูแต่งตั้งโยกย้าย คนที่อาวุโสสูงสุดก็จะสไลด์ที่เป็น รองผบ.ตร.
ตำแหน่งหลัก หรือจเรตำรวจแห่งชาติ ขณะที่ข้าราชการตำรวจยศ
"พลตำรวจโท" ที่ขยับขึ้นมาจากตำแหน่งผู้ช่วย ผบ.ตร. ก็ต้องไปต่อ
คิวในกลุ่ม "ที่ปรึกษา (สบ 10)" ก่อน
เหตุนี้ทำให้ฝ่ายการเมืองมีช่องทางดันคนของตัวเองขึ้นจองเก้าอี้
"ที่ปรึกษา (สบ 10)" ครองยศ "พลตำรวจเอก" ไว้ก่อนในการแต่งตั้งนอก
ฤดูปกติ โดยเปิดตำแหน่งให้เป็นการเฉพาะตัว และเมื่อถึงฤดูโยกย้ายปกติ
หรือวาระประจำปี ค่อยสไตล์ไปนั่งรองผบ.ตร.ตำแหน่งหลัก หรือผงาดขึ้น
เป็น ผบ.ตร.ก็ยังได้
เทียบเคียงปรับย้ายนายทหาร
4.รื้อโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ซึ่งมีอำนาจ
แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับรอง ผบ.ตร.(หรือเทียบเท่า)
ลงไป โดยลดความสำคัญของ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิลง จากเดิมที่มีถึง 11
คน และบางส่วนมาจากการเลือกตั้งของข้าราชการตำรวจด้วยกันเอง
แต่โครงสร้างใหม่เหลือเพียง 2 คน และให้ได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภา
นอกจากนั้นประกาศของ คสช. ยังกำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้าย
ในแต่ละกองบัญชาการใหม่ โดยเน้นให้โยกย้ายภายในกองบัญชาการ
ของตัวเอง และเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้ผู้บัญชาการ
ข้อสังเกต - การปรับแก้ในส่วนนี้เพื่อเพิ่มน้ำหนักการพิจารณาเกี่ยวกับ
การแต่งตั้งโยกย้ายในระดับกองบัญชาการให้เป็นอำนาจของข้าราชการ
ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่จริง และอาจต้องการลดขั้นตอนยุ่งยากในการคัดเลือก 
ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้การทำงานของก.ตร.มีความคล่องตัวขึ้น
โครงสร้างใหม่ทั้ง ก.ต.ช. และ ก.ตร. ทำให้หลายคนนึกไปถึงคณะกรรม
การแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ
กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ที่ประกอบด้วย "กรรมการ 7 อรหันต์"
เป็นฝ่ายประจำถึง 5 คน และฝ่ายการเมืองมากที่สุด 2 คน ทำให้ฝ่ายการ
เมืองเกือบจะไม่สามารถล้วงลูกการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลได้เลย
รื้อเกณฑ์นับอาวุโสสกัด"นักวิ่ง"
ไฮไลต์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 89 เรื่องหลักเกณฑ์
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พูดง่ายๆ คือ รื้อเกณฑ์นับอาวุโสกันใหม่
จากเดิมที่ยึดหลักใครขึ้นดำรงตำแหน่งก่อน ให้ถือว่ามีอาวุโสสูงกว่าใน
ตำแหน่งนั้นคสช.อาจมองว่า จุดนี้เป็นช่องโหว่ ทำให้ข้าราชการตำรวจ
ที่ต้องการเบียดแซงคู่แข่ง ไปวิ่งเต้นกับฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายการเมือง
อาจผลักดันคนของตัวเอง แต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งใหม่แบบนอกฤดูปกติ
ทำให้ข้าราชการตำรวจรายนั้น มีอาวุโสสูงกว่าเพื่อนตำรวจในระนาบ
เดียวกันครึ่งปี หรือ 3 เดือนก็ยังมี
ประกาศ คสช.ใหม่ จึงกำหนดหลักเกณฑ์ว่า 1.ผู้มียศสูงกว่า (ไม่รวม
ถึงยศที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ) เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
2.กรณีที่ยศเท่ากัน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับนั้นนานกว่าเป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่า
3.ถ้าข้อ 2 เท่ากัน ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปนานกว่าตามลำดับ
จนถึงตำแหน่งระดับรองสารวัตร เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
4.ถ้าดำรงตำแหน่งลำดับถัดลงไปนานเท่ากัน ให้ผู้มีระยะเวลาดำรง
ตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานกว่า เป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่า
และ 5.ถ้าระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรเท่ากัน ให้ผู้ที่มีอายุ
มากกว่าเป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใหม่ แม้จะมีการแต่งตั้งนอกฤดู แต่เมื่อ
ข้าราชการตำรวจรายนั้นดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าแล้ว ก็ต้องไปต่อ
ท้ายลำดับอาวุโสของผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อน ไม่สามารถ "เขย่งก้าว
กระโดด" ต่อไปได้อีก และหากตำแหน่งในระดับเดิม ข้าราชการรายนี้
ไม่ได้มีอาวุโสสูงสุดในระดับนั้น ฝ่ายการเมืองก็ไม่สามารถผลักดันให้แต่ง
ตั้งนอกฤดูปกติได้อยู่ดี เพราะไม่ได้มีอาวุโสสูงสุด
การขยับขึ้นดำรงตำแหน่งที่สูงกว่าของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
มีข้อกำหนดเรื่อง "ลำดับอาวุโส" เป็นหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งใน
การพิจารณา ยกเว้นตำแหน่ง รองผบ.ตร.และจเรตำรวจแห่งชาติขึ้นเป็น
ผบ.ตร. ที่กฎหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่อง "ลำดับอาวุโส" เอาไว้
ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ระดับ "รื้อใหญ่
โครงสร้างตำรวจ" ใต้ร่มเงา คสช.
ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างนี้ทุกๆท่าน
 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/
ถ่ายทอดโดย.....                                
ทีมงาน น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา2238) มีรายนามดังนี้....   
บ.ก.เกรียงไกร   พรเทพ ( บรรณาธิการ )
ผช.กรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยบ.ก.ดูแลข่าวตำรวจ 
และ รักษาการ หัวหน้าข่าวการเมือง
อภินันทร์(นามปากกา “อัจฉริยะ”)ปฐมภพ(นามว่า "คนสายกลาง")      
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) สุจิตรา  (นามปากกา “หญิงเหล็ก”) 
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.095 – 9970577)
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่งดังมีรายนามต่อไปนี้
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์  และ dpmnews - dmnnews - diplomanews
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก และ
ข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม..อีเมล์...diplomanews@gmail.com
ติดตามผลงาน“ชมรมนั่งสมาธิปกป้องสถาบันได้ใน FACEBOOK
เรามีแว๊บไซ้ท์ในเครือนับสิบๆแว๊บไซ้ท์และพันธมิตรสื่อฯอีกนับร้อย
เรายังมีคอลัมน์ในสื่อดังๆต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก โดยพิมพ์หาคำว่า
“น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์” หรือคำว่า  “diplomanews”ในสื่อนั้นๆ


รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น