แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่(ดีโพลมา2290)
31 กรกฎาคม 2557 - 22:12:00
แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่(ดีโพลมา2290)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใหม่ เป็นเรื่องสำคัญมากในกระบวนการยุติธรรม เกี่ยวกับผู้ที่มีอำนาจในการจะชี้ขาดเกี่ยวกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดยให้ผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนเป็นผู้ชี้ขาด นอกจากนี้มีการแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องพนักงานสอบสวน กรณีมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาจากเดิมต้องส่งสำนวนพร้อมตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ แต่กฎหมายใหม่ในกรณีผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อกล่าวหาได้หลบหนีไป พนักงานสอบสวนส่งเพียงสำนวนเท่านั้น นอกจากนี้ในกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ผู้ที่มีอำนาจในการทำความเห็นแย้ง กฎหมายใหม่ได้มีการแก้ไขในกรณีต่างจังหวัดให้ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบเป็นผู้ทำความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุดแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดหมดสิ้นไปนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ
รายละเอียดของประกาศมีดังนี้
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๕/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้วิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
“มาตรา ๒๑/๑สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันหรือในกองบัญชาการเดียวกัน ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นผู้ชี้ขาด
การรอคำสั่งชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่แล้ว หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาได้หลบหนีไป”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
“มาตรา ๑๔๕/๑ สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องและคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๓
ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หรือผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในจังหวัดอื่นแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความ หรือมีเหตุอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการดังกล่าวแล้วแต่กรณีไปก่อน
บทบัญญัตินี้ในมาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
รายละเอียดของประกาศมีดังนี้
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๕/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้วิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
“มาตรา ๒๑/๑สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันหรือในกองบัญชาการเดียวกัน ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นผู้ชี้ขาด
การรอคำสั่งชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่แล้ว หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาได้หลบหนีไป”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
“มาตรา ๑๔๕/๑ สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องและคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๓
ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หรือผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในจังหวัดอื่นแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความ หรือมีเหตุอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการดังกล่าวแล้วแต่กรณีไปก่อน
บทบัญญัตินี้ในมาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับสำนวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการต้องถือปฏิบัติ
๑.กรณีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ ๒ ได้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๒ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่แล้ว หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาได้หลบหนีไป”
กรณีดังกล่าวเป็นสำนวนคดีอาญาที่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิด และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบแล้วไม่ว่ากรณีใด หากพนักงานสอบสวนไม่ได้ส่งตัวผู้ต้องหามาเนื่องจากหลบหนีหรือผู้ต้องหาถูกขังอยู่ในอำนาจศาลที่จะรับฟ้อง ให้พนักงานอัยการรับสำนวนไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป
๒.กรณีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ ๓ ที่ให้เพิ่มเติมมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้พนักงานอัยการปฏิบัติต่อสำนวนการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ดังนี้
๒.๑ สำนวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ให้เสนอสำนวนคดีอาญาให้ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบพิจารณา
๒.๒ สำนวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา ที่เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนวันที่ ๒๑กรกฎาคม ๒๕๕๗ และผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่มีความเห็นหรือมีความเห็นหลังวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ให้สำนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องขอรับสำนวนคดีอาญาดังกล่าวกลับคืนมาเพื่อดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๑.กรณีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ ๒ ได้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๒ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่แล้ว หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาได้หลบหนีไป”
กรณีดังกล่าวเป็นสำนวนคดีอาญาที่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิด และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบแล้วไม่ว่ากรณีใด หากพนักงานสอบสวนไม่ได้ส่งตัวผู้ต้องหามาเนื่องจากหลบหนีหรือผู้ต้องหาถูกขังอยู่ในอำนาจศาลที่จะรับฟ้อง ให้พนักงานอัยการรับสำนวนไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป
๒.กรณีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ ๓ ที่ให้เพิ่มเติมมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้พนักงานอัยการปฏิบัติต่อสำนวนการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ดังนี้
๒.๑ สำนวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ให้เสนอสำนวนคดีอาญาให้ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบพิจารณา
๒.๒ สำนวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา ที่เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนวันที่ ๒๑กรกฎาคม ๒๕๕๗ และผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่มีความเห็นหรือมีความเห็นหลังวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ให้สำนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องขอรับสำนวนคดีอาญาดังกล่าวกลับคืนมาเพื่อดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างนี้ทุกๆท่าน
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10944
ถ่ายทอดโดย.....
ทีมงาน น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา2290) มีรายนามดังนี้....
บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ ( บรรณาธิการ )
ผช.กรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยบ.ก.ดูแลข่าวตำรวจ
และ รักษาการ หัวหน้าข่าวการเมือง
อภินันทร์(นามปากกา “อัจฉริยะ”)ปฐมภพ(นามว่า "คนสายกลาง")
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) สุจิตรา (นามปากกา “หญิงเหล็ก”)
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.095 – 9970577)
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่งดังมีรายนามต่อไปนี้
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ และ dpmnews - dmnnews - diplomanews
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก และ
ข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม..อีเมล์...diplomanews@gmail.com
ติดตามผลงาน“ชมรมนั่งสมาธิปกป้องสถาบันได้ใน FACEBOOK
เรามีแว๊บไซ้ท์ในเครือนับสิบๆแว๊บไซ้ท์และพันธมิตรสื่อฯอีกนับร้อย
เรายังมีคอลัมน์ในสื่อดังๆต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก โดยพิมพ์หาคำว่า
“น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์” หรือคำว่า “diplomanews”ในสื่อนั้นๆ
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น