ฟ้องเท็จเป็นความผิดทันทีที่ยื่นฟ้อง(ดีโพลมา2257)
23 กรกฎาคม 2557 - 18:46:00
ฟ้องเท็จเป็นความผิดทันทีที่ยื่นฟ้อง(ดีโพลมา2257)
กรณีแรก แม้ถอนฟ้องก็มีความผิดแล้ว
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2508
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาหาว่าโจทก์ปลอมและใช้เอกสารสัญญากู้ขอให้ลงโทษนั้นแม้จำเลยจะถอนฟ้องคดีอาญาเสียระหว่างไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลสั่งประทับฟ้องก็ดีหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าฟ้องที่จำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นฟ้องเท็จแล้วจำเลยก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175,176
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2537
ความผิดฐานฟ้องเท็จย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้องคดี หาใช่ว่าต้องรอให้คดีนั้นถึงที่สุด หรือต้องฟังว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายหรือไม่ก่อนแต่อย่างใด
กรณีที่สอง ยกฟ้องก็เป็นความผิด
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534
เมื่อศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนมาวินิจฉัยหากแต่วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1ในคดีดังกล่าวกระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1แม้ศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์ได้ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ จำเลยเบิกความในฐานะพยานอันเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 176 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณาต่อไป
ในการสืบพยาน เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย ภาวะแห่งจิตของพยานหรือความเกรงกลัวที่พยานมีต่อจำเลยแล้ว จะดำเนินการโดยไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลยก็ได้ซึ่งอาจกระทำโดยการใช้โทรทัศน์วงจรปิด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา และจะให้สอบถามผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลอื่นที่พยานไว้วางใจด้วยก็ได้
ในการสืบพยาน ให้มีการบันทึกคำเบิกความพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงซึ่งสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของการบันทึกได้ และให้ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาใช้การบันทึกดังกล่าวประกอบการพิจารณาคดีด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามวรรคสามและวรรคสี่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)
กรณีแรก แม้ถอนฟ้องก็มีความผิดแล้ว
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2508
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาหาว่าโจทก์ปลอมและใช้เอกสารสัญญากู้ขอให้ลงโทษนั้นแม้จำเลยจะถอนฟ้องคดีอาญาเสียระหว่างไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลสั่งประทับฟ้องก็ดีหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าฟ้องที่จำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นฟ้องเท็จแล้วจำเลยก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175,176
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2537
ความผิดฐานฟ้องเท็จย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้องคดี หาใช่ว่าต้องรอให้คดีนั้นถึงที่สุด หรือต้องฟังว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายหรือไม่ก่อนแต่อย่างใด
กรณีที่สอง ยกฟ้องก็เป็นความผิด
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534
เมื่อศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนมาวินิจฉัยหากแต่วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1ในคดีดังกล่าวกระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1แม้ศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์ได้ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ จำเลยเบิกความในฐานะพยานอันเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 176 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณาต่อไป
ในการสืบพยาน เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย ภาวะแห่งจิตของพยานหรือความเกรงกลัวที่พยานมีต่อจำเลยแล้ว จะดำเนินการโดยไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลยก็ได้ซึ่งอาจกระทำโดยการใช้โทรทัศน์วงจรปิด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา และจะให้สอบถามผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลอื่นที่พยานไว้วางใจด้วยก็ได้
ในการสืบพยาน ให้มีการบันทึกคำเบิกความพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงซึ่งสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของการบันทึกได้ และให้ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาใช้การบันทึกดังกล่าวประกอบการพิจารณาคดีด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามวรรคสามและวรรคสี่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)
ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างนี้ทุกๆท่าน
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10924
ถ่ายทอดโดย.....
ทีมงาน น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา2257) มีรายนามดังนี้....
บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ ( บรรณาธิการ )
ผช.กรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยบ.ก.ดูแลข่าวตำรวจ
และ รักษาการ หัวหน้าข่าวการเมือง
อภินันทร์(นามปากกา “อัจฉริยะ”)ปฐมภพ(นามว่า "คนสายกลาง")
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) สุจิตรา (นามปากกา “หญิงเหล็ก”)
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.095 – 9970577)
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่งดังมีรายนามต่อไปนี้
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ และ dpmnews - dmnnews - diplomanews
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก และ
ข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม..อีเมล์...diplomanews@gmail.com
ติดตามผลงาน“ชมรมนั่งสมาธิปกป้องสถาบันได้ใน FACEBOOK
เรามีแว๊บไซ้ท์ในเครือนับสิบๆแว๊บไซ้ท์และพันธมิตรสื่อฯอีกนับร้อย
เรายังมีคอลัมน์ในสื่อดังๆต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก โดยพิมพ์หาคำว่า
“น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์” หรือคำว่า “diplomanews”ในสื่อนั้นๆ
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น