กรรโชกทรัพย์เรียกค่าคุ้มครอง (ดีโพลมา2352)
ทนายคลายทุกข์ขอส่ง บทความที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง กรรโชกทรัพย์เรียกค่าคุ้มครอง
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวดังเกี่ยวกับนายทหารผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ถูกกล่าวหาว่ารีดส่วยผู้ค้าย่านพัฒน์พงศ์ และประธานสภากรุงเทพมหานคร ถูกกล่าวหาว่าเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ค้าหน้าวัดหัวลำโพง ซึ่งทั้งสองรายดังกล่าวถูกตั้งข้อหากรรโชกทรัพย์ –เรียกรับสินบน-อั้งยี่-ซ่องโจร มีท่านผู้อ่านสอบถามมาว่า หากผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดจริงจะมีความผิดหรือบทลงโทษอย่างไร ทนายคลายทุกข์จึงไปศึกษาค้นคว้าคดีตัวอย่างเกี่ยวกับการกรรโชกทรัพย์และอั้งยี่มานำเสนอดังต่อไปนี้
1.เจ้าของวินรถจักรยานยนต์เรียกเงินจากสมาชิกเป็นรายเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2554
จำเลยที่ 1 เรียกประชุมสมาชิกคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในวินของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้เสียหายบางคนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย โดยจำเลยทั้งสองได้บอกให้สมาชิกทราบว่าจำเลยที่ 1 ขอเก็บเงินค่าวินจากสมาชิกคนละ 950 บาทต่อเดือน หากสมาชิกคนใดไม่ย่อมจ่ายเงินให้ ก็ให้สมาชิกคนนั้นกลับต่างจังหวัดไป จำเลยทั้งสองจะยึดเสื้อวินคืนกับให้ระวังตัวให้ดี คำพูดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ขืนใจให้สมาชิกทั้งที่เข้าร่วมประชุมยอมจ่ายเงินเป็นรายเดือนเดือนละ 950 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และไม่ให้สมาชิกบอกเรื่องที่ต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบด้วย โดยการขู่เข็ญให้สมาชิกทราบว่าหากสมาชิกคนใดไม่ยอมกระทำตามที่บอกสมาชิกก็จะได้รับผลร้าย คือ จะถูกยึดเสื้อวินที่สมาชิกสวมใส่ในการขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างคืน ซึ่งหมายความว่าสมาชิกคนนั้นจะไม่สามารถมาจอดรถจักรยานยนต์ของตนที่วินของจำเลยที่ 1 เพื่อรอให้ผู้โดยสารว่าจ้างอีกต่อไป อันเป็นการขู่เข็ญสมาชิกว่าจำเลยทั้งสองจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของบรรดาสมาชิก ส่วนคำว่าให้ระวังตัวให้ดีนั้นคนปกติทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นลักษณะคำพูดข่มขู่ให้คนที่ได้รับฟังให้เกิดความกลัวอยู่ในตัวว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายได้ จึงเป็นกรณีจำเลยทั้งสองขู่เข็ญสมาชิกว่าจำเลยทั้งสองจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของบรรดาสมาชิก ซึ่งผู้เสียหายหลายคนยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชก
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโทรศัพท์ไปข่มขู่เรียกเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2543
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตนโดยพูดขู่เข็ญว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามข่าวในหนังสือพิมพ์ ม. ไปอภิปรายในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสด 1,000,000 บาท กับรถยนต์กระบะ 1 คันแก่จำเลยตามที่ต่อรองตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก
3. จำเลยอ้างเป็นพลตำรวจไถเงิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2521)
4.ข่มขู่เรียกเก็บค่าจอดรถตามที่สาธารณะต่างๆ โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย หากไม่ยอมให้ก็จะทำร้ายร่างกายหรือกระทำการใดๆ ให้ผู้ที่นำรถมาจอดเกิดอาการหวาดกลัว หรือกลัวว่ารถยนต์ที่จอดไว้จะได้รับความเสียหาย เช่น ถูกทุบรถ ปล่อยลมยาง หรืออาจกระจกแตก เป็นต้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2551,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2541)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539
จำเลยขอเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองคนละ10บาทแต่ผู้เสียหายทั้งสองไม่ให้จำเลยจึงพูดขู่จะต่อยผู้เสียหายที่1และนำเอาอาวุธมีดปลายแหลมมาจ่อห่างจากไหล่ผู้เสียหายที่2ประมาณ7ถึง8นิ้วแล้วพูดขู่ให้ส่งเงินให้ผู้เสียหายทั้งสองเกิดความกลัวจึงมอบเงินให้จำเลยคนละ10 บาท การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถแก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งสองจนผู้เสียหายทั้งสองยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337
5. พูดขอเงินกับผู้เสียหาย ไม่ให้จะทำร้าย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554)
6. การกระทำความผิดฐานอั้งยี่ เปิดสำนักงานทนายความบังหน้า เปิดบ่อนการพนัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2554
จำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะประกอบกิจการบริษัท อ.ในอาคารที่เกิดเหตุอย่างแท้จริง การนำชื่อของบริษัทที่เป็นสำนักงานทนายความไปติดตั้งไว้ที่อาคารด้านหน้าโดยต่อมามีการเช่าอาคารส่วนกลางและด้านหลังเพื่อการเล่นพนันไพ่บาการา จึงมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเป็นการเพียงการบังหน้าเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเกรงกลัว และไม่กล้าเข้าไปค้น พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยกับพวก จึงเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่บาการาในอาคารที่เกิดเหตุ โดยนำชื่อบริษัทซึ่งเป็นสำนักงานทนายความและชมรมมาบังหน้าเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันมาแต่ต้น ย่อมเรียกได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำความผิดฐานอั้งยี่
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ไม่อยากเป็นเบี้ยล่าง อย่าทำผิดกฎหมาย เพราะมาเฟียจะข่มขู่เฉพาะผู้ที่ทำมาหากิน โดยละเมิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวดังเกี่ยวกับนายทหารผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ถูกกล่าวหาว่ารีดส่วยผู้ค้าย่านพัฒน์พงศ์ และประธานสภากรุงเทพมหานคร ถูกกล่าวหาว่าเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ค้าหน้าวัดหัวลำโพง ซึ่งทั้งสองรายดังกล่าวถูกตั้งข้อหากรรโชกทรัพย์ –เรียกรับสินบน-อั้งยี่-ซ่องโจร มีท่านผู้อ่านสอบถามมาว่า หากผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดจริงจะมีความผิดหรือบทลงโทษอย่างไร ทนายคลายทุกข์จึงไปศึกษาค้นคว้าคดีตัวอย่างเกี่ยวกับการกรรโชกทรัพย์และอั้งยี่มานำเสนอดังต่อไปนี้
1.เจ้าของวินรถจักรยานยนต์เรียกเงินจากสมาชิกเป็นรายเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2554
จำเลยที่ 1 เรียกประชุมสมาชิกคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในวินของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้เสียหายบางคนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย โดยจำเลยทั้งสองได้บอกให้สมาชิกทราบว่าจำเลยที่ 1 ขอเก็บเงินค่าวินจากสมาชิกคนละ 950 บาทต่อเดือน หากสมาชิกคนใดไม่ย่อมจ่ายเงินให้ ก็ให้สมาชิกคนนั้นกลับต่างจังหวัดไป จำเลยทั้งสองจะยึดเสื้อวินคืนกับให้ระวังตัวให้ดี คำพูดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ขืนใจให้สมาชิกทั้งที่เข้าร่วมประชุมยอมจ่ายเงินเป็นรายเดือนเดือนละ 950 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และไม่ให้สมาชิกบอกเรื่องที่ต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบด้วย โดยการขู่เข็ญให้สมาชิกทราบว่าหากสมาชิกคนใดไม่ยอมกระทำตามที่บอกสมาชิกก็จะได้รับผลร้าย คือ จะถูกยึดเสื้อวินที่สมาชิกสวมใส่ในการขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างคืน ซึ่งหมายความว่าสมาชิกคนนั้นจะไม่สามารถมาจอดรถจักรยานยนต์ของตนที่วินของจำเลยที่ 1 เพื่อรอให้ผู้โดยสารว่าจ้างอีกต่อไป อันเป็นการขู่เข็ญสมาชิกว่าจำเลยทั้งสองจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของบรรดาสมาชิก ส่วนคำว่าให้ระวังตัวให้ดีนั้นคนปกติทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นลักษณะคำพูดข่มขู่ให้คนที่ได้รับฟังให้เกิดความกลัวอยู่ในตัวว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายได้ จึงเป็นกรณีจำเลยทั้งสองขู่เข็ญสมาชิกว่าจำเลยทั้งสองจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของบรรดาสมาชิก ซึ่งผู้เสียหายหลายคนยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชก
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโทรศัพท์ไปข่มขู่เรียกเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2543
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตนโดยพูดขู่เข็ญว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามข่าวในหนังสือพิมพ์ ม. ไปอภิปรายในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสด 1,000,000 บาท กับรถยนต์กระบะ 1 คันแก่จำเลยตามที่ต่อรองตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก
3. จำเลยอ้างเป็นพลตำรวจไถเงิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2521)
4.ข่มขู่เรียกเก็บค่าจอดรถตามที่สาธารณะต่างๆ โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย หากไม่ยอมให้ก็จะทำร้ายร่างกายหรือกระทำการใดๆ ให้ผู้ที่นำรถมาจอดเกิดอาการหวาดกลัว หรือกลัวว่ารถยนต์ที่จอดไว้จะได้รับความเสียหาย เช่น ถูกทุบรถ ปล่อยลมยาง หรืออาจกระจกแตก เป็นต้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2551,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2541)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539
จำเลยขอเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองคนละ10บาทแต่ผู้เสียหายทั้งสองไม่ให้จำเลยจึงพูดขู่จะต่อยผู้เสียหายที่1และนำเอาอาวุธมีดปลายแหลมมาจ่อห่างจากไหล่ผู้เสียหายที่2ประมาณ7ถึง8นิ้วแล้วพูดขู่ให้ส่งเงินให้ผู้เสียหายทั้งสองเกิดความกลัวจึงมอบเงินให้จำเลยคนละ10 บาท การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถแก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งสองจนผู้เสียหายทั้งสองยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337
5. พูดขอเงินกับผู้เสียหาย ไม่ให้จะทำร้าย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554)
6. การกระทำความผิดฐานอั้งยี่ เปิดสำนักงานทนายความบังหน้า เปิดบ่อนการพนัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2554
จำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะประกอบกิจการบริษัท อ.ในอาคารที่เกิดเหตุอย่างแท้จริง การนำชื่อของบริษัทที่เป็นสำนักงานทนายความไปติดตั้งไว้ที่อาคารด้านหน้าโดยต่อมามีการเช่าอาคารส่วนกลางและด้านหลังเพื่อการเล่นพนันไพ่บาการา จึงมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเป็นการเพียงการบังหน้าเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเกรงกลัว และไม่กล้าเข้าไปค้น พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยกับพวก จึงเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่บาการาในอาคารที่เกิดเหตุ โดยนำชื่อบริษัทซึ่งเป็นสำนักงานทนายความและชมรมมาบังหน้าเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันมาแต่ต้น ย่อมเรียกได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำความผิดฐานอั้งยี่
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ไม่อยากเป็นเบี้ยล่าง อย่าทำผิดกฎหมาย เพราะมาเฟียจะข่มขู่เฉพาะผู้ที่ทำมาหากิน โดยละเมิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่
ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์
ขอขอบคุณที่มาของข่าว/ภาพจากผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านล่างนี้ทุกๆท่าน
www.decha.com
ถ่ายทอดโดย.....
ทีมงาน น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ (ดีโพลมา2352) มีรายนามดังนี้....
บ.ก.เกรียงไกร พรเทพ ( บรรณาธิการ )
ผช.กรรณชัย(นามปากกา “ผู้กองแอ๊ด”) ผู้ช่วยบ.ก.ดูแลข่าวตำรวจ
และ รักษาการ หัวหน้าข่าวการเมือง
อภินันทร์(นามปากกา “อัจฉริยะ”)ปฐมภพ(นามว่า "คนสายกลาง")
จตุพล (นามปากกา “อัพเดท”) สุจิตรา (นามปากกา “หญิงเหล็ก”)
ชมรมสื่อมวลชนและเพื่อนทนายความ (ฝ่ายกฎหมาย)
(รับปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีโทร.095 – 9970577)
ข่าวนี้จะนำไปลงสื่อฯต่างๆในเครืออีกครั้งหนึ่งดังมีรายนามต่อไปนี้
น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์ และ dpmnews - dmnnews - diplomanews
และข่าวชมรมนักข่าว2000, และ ข่าวศูนย์วิทยุ (ทาง)ช้างเผือก และ
ข่าวชมรมนักข่าวช่วยสังคม..อีเมล์...diplomanews@gmail.com
ติดตามผลงาน“ชมรมนั่งสมาธิปกป้องสถาบันได้ใน FACEBOOK
เรามีแว๊บไซ้ท์ในเครือนับสิบๆแว๊บไซ้ท์และพันธมิตรสื่อฯอีกนับร้อย
เรายังมีคอลัมน์ในสื่อดังๆต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก โดยพิมพ์หาคำว่า
“น.ส.พ.ดีโพลมานิวส์” หรือคำว่า “diplomanews”ในสื่อนั้นๆ
รวมสื่อต่างๆแล้วเรามีผู้อ่านข่าวของเราร่วมหลายแสนคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น