รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำคลังความรู้ ผนึกเนื้อหาความเป็นเลิศและกิ จกรรมทางการแพทย์ของสองสถาบัน ลงในวารสาร “ฬ.จุฬา” ฉบับปฐมฤกษ์ เปิดตัวในวันที่ 31 มีนาคม 2559 ณ โถงอเนกประสงค์ ตึก 14 ชั้น (ชั้นล่าง)
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึง วิสัยทัศน์ “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่ มีคุณธรรมด้วยคุณภาพ มาตรฐานระดับนานาชาติ” และมีพันธกิจคือ
1. ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุ ขภาพที่เป็นเลิศด้วยการพัฒนาคุ ณภาพอย่างต่อเนื่องและการสร้ างนวัตกรรมทางการแพทย์ และการพยาบาล
2. สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย ฝึกอบรม และบริการวิชาการที่เป็นแหล่งอ้ างอิงได้ในระดับสากล
3. บริการจัดการองค์กรให้มีความคล่ องตัว มีประสิทธิภาพทางการเงิน มีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของบุ คลากร
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ที่ให้การรักษาในระดับตติยภูมิ รวมทั้งรับผู้ป่วยส่งต่ อจากโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศเพื่อให้การรักษาจนถึ งที่สุด จากอดีตที่ผ่านมาจนถึง 102 ปีแล้วที่โรงพยาบาลได้พัฒนาปรั บปรุงการบริการ และการรักษาพัฒนานวัตกรรม และจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่ องใช้ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่ องทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็ นลำดับทุกปี ทำให้ต้องสร้างอาคารรั กษาพยาบาลเพิ่มเติม ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราก็จะเปิดอาคารภูมิสิริมั งคลานุสรณ์ อย่างเต็มรูปแบบ ที่เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อช่ วยให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมมือของทั้ งสองสถาบันคือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีแพททย์ในการคิดค้น วิจัยการรักษาผู้ป่วยให้มี ผลความสำเร็จเป็ นรายแรกของประเทศ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยฝ่ายการพยาบาลที่ให้บริการดู แลผู้ป่วยด้วยใจ จนทำให้ประชาชนทั่วไปให้ความนั บถือ ศรัทธา ยอมรับในความสามารถของบุคลากรทั ้งสองสถาบันที่ทำงานร่วมกันเป็ นหนึ่งเดียว นานถึง 102 ปี และอีกผลงานหนึ่งที่ทั้งสองหน่ วยงานได้ร่วมมือกันจัดทำขึ้นคื อวารสาร “ฬ.จุฬา” เพื่อรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ภายในรั้วบ้านเลขที่ 1873 ถ่ายทอดเป็นหนังสือที่มีคุณค่ าต่อไป
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯกล่าวถึง วารสาร“ฬ.จุฬา” เกิดจากความร่วมมือระหว่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่มุ่งมั่นตั้งใจถ่ายทอดเรื่ องราวต่างๆ ร่วมกันผ่านวารสาร “ฬ.จุฬา” ภายใต้Concept “One Chula” เพื่อเผยแพร่ให้บุคลากร และประชาชน ได้รับข่าวสารเรื่องราวดีดี ของสองสถาบัน ตั้งแต่โรงพยาบาลเริ่มให้บริ การในวันที่ 30 พฤษภาคม 2457 และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในวันที ่ 11 มิถุนายน 2490 ไม่ว่าจะเป็นเรื่ องราวของโรงพยาบาล จากตึกอำนวยการ ซึ่งเป็นตึกแรกของโรงพยาบาล ไปจนถึงตึกที่ครบครันและทันสมั ยที่สุดในอาเซียนอย่างอาคารภูมิ สิริมังคลานุสรณ์ อีกทั้งเรื่ องราวของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีการค้นคว้าวิจัย การนำนวัตกรรม เทคนิค และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทั นสมัยมาใช้ในการรักษาผู้ป่ วยจนประสบผลสำเร็จเป็นครั้ งแรกมาบรรจุอยู่ในวารสาร “ฬ.จุฬา”
ผศ.(พิเศษ)นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุ ฬาลงกรณ์ ด้านภาพลักษณ์องค์กร กล่าวว่า การเปิดตัววารสาร “ฬ.จุฬา” ฉบับปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการเล่ มนี้ ถือเป็นฤกษ์มหามงคลอย่างยิ่ง เพราะเป็นเดือนแห่งวันคล้ายวั นพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรั ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกา ผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
ซึ่งในวารสาร “ฬ.จุฬา” ยังได้รับพระเมตตาจากสมเด็ จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ผ่านบทความให้ข้อคิดเตื อนใจในคอลัมน์ “มรสุมทางใจ” นอกจากนี้เนื้อหาที่จัดพิมพ์ ภายในวารสาร“ฬ.จุฬา” ทั้ง 28 หน้า กอปรไปด้วยข่าวนวั ตกรรมทางการแพทย์ และเรื่องราวความเป็นเลิศในด้ านต่างๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รวมถึงให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกั บเรื่องโรค ที่คัดสรรเนื้อหาเป็นอย่างดี ลงในคอลัมน์ต่างๆ ถึง 14 คอลัมน์ เป็นต้น
“วารสาร “ฬ.จุฬา” จะทำให้ทุกคนในบ้านเลขที่ 1873 นี้รู้สึกได้ถึงความรัก ความอบอุ่น และความทุ่มเทของทุกคนในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในการมุ่งมั่นพั ฒนาบ้าน “ฬ.จุฬา” ให้เป็นองค์กรในฝั นของเราและคนไทยทุกคน”
///////////////////////////// ////////
|
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น